Knowledge Management of Women in the South

Title
พฤติกรรมของสตรีในภาคใต้ของประเทศไทย ศึกษาจังหวัด ยะลา ปัตตานี และสงขลา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบว่า สตรีในภาคใต้มีระดับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตลอดจนด้านอนามัยแม่และเด็กเป็นอย่างไร และการปฏิบัติเช่นนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางประชากรและสังคมเพียงไร โดยใช้ข้อมูลซึ่งกองอนามัยครอบครัว กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้สัมภาษณ์สตรีในจังหวัดยะละ ปัตตานี และสงขลา จำนวน 219 ราย
 
ผลการวิจัยปรากฏว่า สตรีเหล่านั้นมีความรู้เกี่ยวกับอนามัยแม่และเด็กในเกณฑ์ดี และมีทัศนะอยู่ในระดับพอใช้ สำหรับการปฏิบัติตนพบว่าไม่ใคร่เหมาะสมทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และการเลี้ยงบุตร
 
เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากรและสังคมกับพฤติกรรมอนามัยแม่และเด็กของสตรีเหล่านั้น เนื่องจากพฤติกรรมอนามัยแม่และเด็กเป็นการรวมพฤติกรรมย่อยๆ หลายอย่างมาไว้ด้วยกัน ทั้งในระยะก่อนคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และระยะเลี้ยงดูบุตร จึงไม่อาจรวมพฤติกรรมย่อยๆ ในแต่ละระยะไว้เป็นประเด็นเดียวอย่างแจ่มชัดได้ เพราะยังมีบางประเด็นที่เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนออกไป ถ้าจะรวมเข้าไว้ด้วยกันจะทำให้ต้องละทิ้งปัญหาบางอย่างซึ่งเป็นจุดย่อยๆ แต่มีความสำคัญมากอยู่ ซึ่งอย่างแสดงไว้ให้เห็นในที่นี้กล่าวโดย กว้างๆ ได้ว่า ปัจจัยทางสังคมและประชากรส่วนใหญ่ที่ศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับพฤติกรรมอนามัยและเด็กในทุกระยะ มีอยู่เพียงบางประเด็นเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ สตรีอายุน้อยมีการฝากครรภ์มากกว่าสตรีอายุมาก สตรีที่มีการศึกษาสูง มีการปฏิบัติตัวในเรื่องอาหารและการเจ็บป่วยของบุตรได้ดีกว่าผู้มีการศึกษาต่ำ สตรีที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีการปฏิบัติในเรื่องการให้อาหารเสริมแก่บุตรไม่เหมาะสมมากกว่ามารดาอาชีพแม่บ้านหรือข้าราชการและค้าขาย
Author
พูลศรี โสมเกษตริน
Year
2523
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยมหิดล