Knowledge Management of Women in the South

Title
คุณสมบัติของ “หญิงดี” ใน สุภาษิตสอนหญิงภาคใต้ที่สัมพันธ์กับความคิด ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
Abstract
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณสมบัติของ “หญิงดี” ใน สุภาษิตสอนหญิงภาคใต้ที่สัมพันธ์ กับความคิดความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากเรื่องสุภาษิตสอนหญิงคำกาพย์ สุภาษิตคำกาพย์ ฉบับศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หมายเลข 291 สุภาษิตสอนหญิง ฉบับนางนิล ทวีเศษ  และสุภาษิตสอนหญิง ฉบับศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
 
ผลการศึกษาพบว่า ผู้แต่งสุภาษิตสอนหญิงทั้งสี่สำนวนต่างก็กำหนดคุณสมบัติของ “หญิงดี” ที่สัมพันธ์กับความคิดความเชื่อใน พระพุทธศาสนา ดังนี้ คุณสมบัติทางกาย คือ “หญิงดี” ต้องมีกายที่สำรวมทั้งในขณะเดิน นั่ง หัวเราะ กิน นอน การแสดงสีหน้า แววตา และการทำกิจกรรมต่างๆ คุณสมบัติทางวาจา คือ “หญิงดี” ต้องมีวาจาที่ไพเราะอ่อน หวาน รู้จักพูด ถาม และสนทนากับผู้อื่น คุณสมบัติทางใจ คือ “หญิงดี” ต้องรู้จักระงับโทสะ มีความเพียร พยายาม ใจบุญสุนทาน ละโลภโกรธหลง เห็นความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง และรู้จักใช้ปัญญา นอกจากนี้  ยังต้องมีคุณสมบัติด้านการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยคุณสมบัติด้านพฤติกรรมที่แสดงออกสัมพันธ์กับความคิดความเชื่อในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับศีล สมาธิและปัญญา ทั้งนี้ผู้แต่งน่าจะมีนัยแฝงเพื่อฝึกฝนหญิงชาวใต้ที่ “สมบูรณ์แบบ” ตามหลักการพระพุทธศาสนาเพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขและไปเกิดในภพภูมิที่ดี  ทั้งอาจเป็นการสร้างพลังอำนาจแฝงของผู้หญิงอันจะยังประโยชน์ต่อสังคม และเป็นการจัดระเบียบผู้หญิง ภาคใต้สมัยโบราณในเชิงลึกเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการปกครองท้องถิ่น (พัชลินจ์ จีนนุ่น, 2560)
Author
พัชลินจ์  จีนนุ่น
Year
2560
Subject Group
ด้านอัตลักษณ์ ความเป็นหญิง และเพศสภาพ
  • ผู้หญิงกับศาสนาและกลุ่มชาติพันธ์
Type
วารสาร
Organization