Knowledge Management of Women in the South

Title
ทบทวนสถานะความคิดสตรีนิยมอิสลาม
Abstract
ทบทวนความคิดจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคำอธิบายเรื่องหญิงมุสลิม รวมทั้งการเสนอแนวคิดสตรีนิยมอิสลามจากกลุ่มนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรีทั้งในและต่างประเทศ บทความแสดงให้เห็นถึงพลวัตของการให้ความหมายและจุดยืนที่แตกต่างกันในกลุ่มนักคิดอิสลามนิยม นักกิจกรรมที่ทำงานประเด็นผู้หญิง และนักสตรีนิยมอิสลามในการอธิบายสถานะของผู้หญิงท่ามกลางกระแสการฟื้นฟูอิสลาม
 
ในประเทศไทย การพิจารณาแนวคิดหรือคำอธิบายถึงการเป็นนักสตรีนิยมอิสลามไม่อาจพบได้ทั่วไปนัก เนื่องจากผู้ยึดถือจารีตและประเพณีที่สัมพันธ์กับศาสนาและเพศสภาพตรวจตราความเป็นผู้ศรัทธาอิสลามในผู้หญิงอย่างแข้งขันภายใต้สภาวะที่มุสลิมไม่ใช่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศ บรรยากาศเช่นนี้ดำเนินงานประสบการณ์การต่อสู้เชิงอัตลักษณ์โดยใช้สัญลักษณ์ของผู้หญิงต่อรองกับอำนาจรัฐ โดยเฉพาะเหตุการณ์ประท้วงฮิญาบในมุสลิมสายใหม่ที่ต้องการฟื้นฟูอิสลามให้บริสุทธิ์มุ่งหวังผู้หญิงต้องได้รับการคุ้มครองและหลีกห่างการปฏิบัติตามจารีตท้องถิ่นกับวัฒนธรรมตะวันตก ด้วยเหตุนี้ สตรีนิยมอิสลามในไทยยังถูกมองว่าเป็นสิ่งอื่นมาจากที่อื่นซึ่งการ“เป็นอื่น” นี้ ดำรงอยู่ในสังคมตะวันตกและไม่ได้มีฐานของความเกี่ยวพันกับ อารยธรรมอิสลาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ปรากฏการณ์ความรุนแรงอันเนื่องมาจากเพศสภาพ และความรุนแรง ในครอบครัวในพื้นที่ที่มุสลิมเป็นประชาชนกลุ่มหลักส่งผลให้ปัจจุบัน เกิดการทบทวนความรู้ความเข้าใจแนวคิดสิทธิผู้หญิงในสิทธิมนุษยชน หรือสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง (women’s human rights) จากการอภิปรายกลไกสากลของสหประชาชาติว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิผู้หญิง เช่น UNSCR 132562 และ CEDAW 63 เป็นต้น เพื่อผนวกเข้ากับความรู้ เรื่องผู้หญิงในอิสลาม ทว่าหลายคนยังคงเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้า ถึงความช่วยเหลือและการคุ้มครองความยุติธรรมจากการใช้กฎหมาย อิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก  ผู้เขียนพบว่าแม้แหล่งข้อมูลยังมี อยู่อย่างจำกัดและการถกเถียงโต้แย้งเข้มข้น เต็มไปด้วยท่าทีที่ ระมัดระวังในการยอมรับแนวคิดสตรีนิยมอิสลามแต่เกิดปรากฏการณ์ การหยิบยืมเอางานของกลุ่มนักสตรีนิยมอิสลามในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาปรับใช้เพื่อพัฒนาแนวทางการทำงาน สันติภาพของผู้หญิงในสังคมไทย (อัมพร หมาดเด็น, 2560)
Author
อัมพร หมาดเด็น
Year
2560
Subject Group
ด้านอัตลักษณ์ ความเป็นหญิง และเพศสภาพ
  • ผู้หญิงกับศาสนาและกลุ่มชาติพันธ์
Type
วารสาร
Organization
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์