Knowledge Management of Women in the South

Title
ภูมิปัญญาพื้นบ้านทางการแพทย์ของหมอตำแย มุสลิม (โต๊ะบิแด) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
Abstract
อัตราการตายของมารดาและทารกที่คลอดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงกว่าเป้าหมายของประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดจากการทำคลอดของโต๊ะบิแด ที่ขาดทักษะและความรู้ในการช่วยทารกและไม่สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงของหญิงมีครรภ์ได้  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังและภูมิปัญญาของโต๊ะบิแดในการดูแลสุขภาพอนามัยหญิงตั้งครรภ์และทารกคลอดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิธีการศึกษาโดยการกำหนดในการตัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 3 คน ต่อจังหวัด 15 คน สัมภาษณ์เจาะลึกตามเครื่องมือที่สร้างขึ้นและวิเคราะห์เชิงพรรณนา
 
โต๊ะบิแดในการศึกษานี้เป็นหญิงทั้งหมด อายุ 60-70 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักเกี่ยวกับการเกษตร มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาชีพหลักเป็นหมอตำแย องค์ความรู้อาชีพหมอตำแยมักสืบทอดจากบรรพบุรุษทางแม่ และเคยผ่านการอบรมผดุงครรภ์จากหน่วยงานภาครัฐในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารก ในระยะตั้งครรภ์ โต๊ะบิแดหญิงดูแลหญิงมีครรภ์โดยการตรวจครรภ์ นวดเพื่อผ่อนคลาย และนวดท้องเพื่อให้เด็กอยู่ในท่าปกติ แนะนำให้กินอาหารที่เป็นสมุนไพรบำรุงครรภ์ทำให้คลอดง่าย ระยะคลอด โต๊ะบิแดจะเน้นการทำความสะอาดบริเวณช่องคลอด ตรวจการเปิดปากมดลูก ทำคลอดโดยการใช้สมุนไพร ช่วยป้องกันฝีเย็บขาด ตัดสายสะดือทารก และทำพิธีฝังรก  ระยะหลังคลอด โต๊ะบิแดจะให้หญิงหลังคลอดอยู่ไฟเพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น แนะนำการดูแลตนเองหลังคลอด โดยเฉพาะการใช้สมุนไพรขับน้ำคาวปลา บำรุงครรภ์ เร่งน้ำนม ส่วนทารก โต๊ะบิแดจะทำพิธีไม่ให้ผีทำร้ายเด็ก ใช้สมุนไพรรักษาสะดือเด็กให้แห้ง ช่วยป้องกันผื่นคัน
 
สรุปว่า ตะบิแดได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาทางแม่ ช่วงตั้งครรภ์จะเน้นนวดและกินยาบำรุงครรภ์ ระยะคลอด จะเป็นการทำคลอด หลังคลอดจะแนะนำให้ใช้สมุนไพรเร่งน้ำนมและดูแลทารกไม่ใช้เจ็บป่วย
Author
สุธน   พรบัณฑิตปัทมา
Year
2548
Subject Group
ด้านคติชนวิทยา
  • บทบาทของผู้หญิงในอดีต
Type
งานวิจัย
Organization
กลุ่มงานการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข