Knowledge Management of Women in the South

Title
สถานภาพสตรีไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนี้ เพื่อศึกษาสถานภาพของสตรีไทยมุสลิมในด้านครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย จิตใจ การยอมรับแนวคิดใหม่ๆ บางประการ และเพื่อศึกษาว่าสถานภาพสตรีไทยมุสลิมในปัจจุบัน ตรงตามหลักการอิสลามหรือไม่ โดยศึกษาเปรียบเทียบตามประเภทที่อยู่อาศัยในเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท และชนบท
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกประชากรที่เป็นตัวอย่างจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 450 ราย เป็นกลุ่มเมือง 150 กึ่งเมืองกึ่งชนบท 150 ราย และชนบท 150 ราย

ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้
      1. การศึกษาสายสามัญของสตรีไทยมุสลิม แตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัย การศึกษาศาสนาอิสลาม มีความแตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกัน
      2. การปรนนิบัติต่อบิดามารดาของสตรีไทยมุสลิม แตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัยและมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ ส่วนการปรนนิบัติต่อสามีของสตรีไทยมุสลิมอยู่ระหว่างเขตที่อยู่อาศัยต่างกัน ไม่เหมือนกัน ความสัมพันธ์แทบไม่มีเลย
      3. สตรีไทยมุสลิมดูแลอบรมบุตรแตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัย และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ และสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
      4. ประเภทที่อยู่อาศัยไม่มีผลต่อการทำงานเชิงเศรษฐกิจ แต่มีผลทำให้รายได้แตกต่างกัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง สัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
      5. สตรีไทยมุสลิมที่มีส่วนร่วมทางสังคม แตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัยและมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ และความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
      6. สตรีไทยมุสลิมมีส่วนร่วมในทางการเมืองแตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัยและความสัมพันธ์ในระดับต่ำ สตรีไทยมุสลิมทุกเขตใช้กฎหมายทั่วไปไม่แตกต่างกัน และไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่ใช้กฎหมายอิสลามแตกต่างกัน และมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง
      7. ประเภทที่อยู่อาศัยมีผลทำให้สตรีไทยมุสลิมมีสถานการณ์ทางจิตใจไม่เหมือนกันและมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ
      8. การยอมรับความคิดใหม่ๆ บางประการของสตรีไทยมุสลิมระหว่างเขตที่อยู่อาศัยต่างกัน ไม่เหมือนกัน และมีความสัมพันธ์ในระดับมากพอสมควร สัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
      9. ประเภทที่อยู่อาศัยไม่มีผลต่อสถานภาพของสตรีไทยมุสลิมตามหลักการอิสลาม ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด สตรีไทยมุสลิมส่วนใหญ่มุสถานภาพตรงตามหลักการอิสลาม
Author
ดลมนรรจน์ บากา และ แวอุเซ็ง มะแดเฮาะ
Year
2529
Subject Group
ด้านอัตลักษณ์ ความเป็นหญิง และเพศสภาพ
  • ผู้หญิงกับศาสนาและกลุ่มชาติพันธ์
Type
งานวิจัย
Organization
โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยสงขลานครินทร์