Knowledge Management of Women in the South

Title
องค์ความรู้ ภูมิปัญญาโต๊ะบีแด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
Abstract
โต๊ะบีแด (ภาษามลายูถิ่นของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) เป็นบุคคลที่มีความชำนาญการดูแลสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ระยะคลอด และหญิงหลังคลอด รวมถึงการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี โดยใช้องค์ความรู้ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้การดูแลในชุมชนซึ่งประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความศรัทธา ความเคารพ ความเชื่อต่อโต๊ะบีแดทำให้อัตลักษณ์ พิธีกรรมการดำรงคงไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้านคงอยู่คู่ชุมชนสืบไป แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการสุขภาพของสถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น ส่งผลให้บทบาทของโต๊ะบีแดปรับเปลี่ยนบทบาทเดิมเป็นผู้ทำคลอดมีบทบาทดูแลก่อนคลอด และดูแลหลังคลอด โต๊ะบีแดทุกคนจะให้ความสำคัญกับหญิงตั้งครรภ์มารับบริการคลอดที่โรงพยาบาล  โดยมีส่วนร่วมในการนำส่งหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดเองทุกครั้ง
 
ในปี 2554 อำเภอยะรังมีโต๊ะบีแด เหลือ ประมาณ 54 คน ลดลงร้อยละ 22.86 เมื่อเทียบในปี 2551 จากสาเหตุการเสียชีวิต ปัญหาสุขภาพ ชราภาพ ไม่มีผู้สืบทอดและเลิกเป็นโต๊ะบิแด โรงพยาบาลยะรังได้ดำเนินการถอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาโต๊ะบีแด โดยแจกแจงเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นการทำสนทนากลุ่มโต๊ะบีแด แล้วสัมภาษณ์องค์ความรู้ภูมิปัญญาของโต๊ะบีแดมารวมกัน ส่วนที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์รายบุคคล แล้วนำมารวบรวมและเรียบเรียงเป็นคู่มือเล่มนี้ (โรงพยาบาลยะรังและเครือข่ายบริการสุภาพอำเภอยะรัง, 2554)
Author
โรงพยาบาลยะรังและเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอยะรัง
Year
2554
Subject Group
ด้านคติชนวิทยา
  • บทบาทของผู้หญิงในอดีต
Type
งานวิจัย
Organization
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)