Knowledge Management of Women in the South

Title
การบริหารจัดการครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระบบครอบครัวอิสลามและการมีภรรยา หลายคนในศาสนาอิสลาม 2) การบริหารจัดการของครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 3) ปัญหาและเงื่อนไขเชิงบริบทที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัวมุสลิม ที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 
 
ผลการวิจัยพบว่า
      1. ระบบครอบครัวในศาสนาอิสลามมีความสมบูรณ์แบบ มีการกำหนดเป้าหมาย กฎเกณฑ์ บทบาทหน้าที่ และโครงสร้างของระบบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน การสร้างครอบครัวบนรากฐานของศาสนาจึงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามคำสอนศาสนา การที่บทบัญญัติศาสนาอิสลามได้อนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคนแต่ไม่เกินสี่คนภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม เป็นการแสดงถึงความสมบูรณ์และความครอบคลุมของบัญญัติทางศาสนาที่สามารถสนองความ ต้องการของมนุษย์เพื่อรักษาไว้ซึ่งศีลธรรมอันดีงามในสังคม ตลอดจนสร้างความสมดุลให้แก่ สภาวะของสังคมในทุกยุคสมัย มนุษย์ในแต่ละยุคสมัยจึงต้องนำบทบัญญัติมาปฏิบัติอย่างรอบคอบ ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของศาสนา และพึงมีความตระหนักว่าความรับผิดชอบในเรื่อง ครอบครัวนั้นเป็นสิ่งที่ต้องถูกสอบสวนในโลกหน้า
      2. การบริหารจัดการในครอบครัวที่มีภรรยาหลายคนมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) การ ให้ความยุติธรรมด้านการแบ่งเวลา การให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู และการมอบสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ ภรรยาและบุตรพึงได้รับตามข้อกำหนดศาสนา 2) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกใน ครอบครัว อันได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาภรรยา ระว่างบิดากับบุตร และระหว่างบุตรต่าง มารดา 3) การถ่ายทอดความรู้ศาสนาให้แก่สมาชิก ทั้งในระดับสามีต่อภรรยา และบิดามารดาต่อ บุตร 4) การอบรมเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของทั้งผู้ที่เป็นสามีและภรรยา 5) การจัดการ ความขัดแย้งภายในครอบครัวด้วยสันติวิธีตามแนวทางศาสนา และ 6) การจัดการอารมณ์และ ความเครียด ด้วยการคิดในแง่ที่ดีและควบคุมอารมณ์ให้อยู่ภายใต้กรอบคา สอนศาสนา
      3. ปัญหาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคน แบ่งออกได้ดังนี้ คือ 1) ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากบุคคลภายใน อันได้แก่ ครอบครัวต้องประสบกับสภาวะความเครียดในช่วงของการปรับตัว ผู้นำครอบครัวขาดการเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ภรรยาคนที่หนึ่ง และปัญหาสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ขาดความคล่องตัว 2) ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ขาดการยอมรับจากบิดามารดาและเครือ ญาติของภรรยา ความไม่เข้าใจของกลุ่มเพื่อนของบรรดาภรรยา การได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม จากสังคม และการได้รับผลกระทบจากสื่อที่เข้ามาคุกคามความมั่นคงของครอบครัว นอกจากนี้ เงื่อนไขเชิงบริบทยังคงส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัว กล่าวคือ ควรมีการสร้างความเข้าใจที่ ถูกต้องควบคู่กันทั้งในระดับปัจเจกบุคคล คือ ผู้นำครอบครัว ภรรยา และสตรีมุสลิมคนอื่นๆ และ ในระดับสังคมก็ควรมีการให้องค์ความรู้ที่ถูกต้องแก่มุสลิมทุกคน เพื่อให้การนำบทบัญญัตินี้ไป ปฏิบัติมีความถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่มากที่สุด (รูดียะห์ หะ, 2555)
Author
รูดียะห์ หะ
Year
2555
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับความรุนแรง
  • ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สังคม วัฒนธรรม
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์