Knowledge Management of Women in the South

Title
การปรับตัวเชิงวัฒนธรรมระหว่างการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยสตรีไทยมุสลิม
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการปรับตัวเชิงวัฒนธรรมระหว่างการพักรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสตรีไทยมุสลิมในด้านการตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และยังมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการพยากรณ์ของลักษณะทางประชากร และประสบการณ์ความเจ็บป่วยที่มีต่อการปรับตัวเชิงวัฒนธรรม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยสตรีไทยมุสลิมที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลปัตตานีจำนวน 240 คน ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ประกอบกับการวิเคราะห์เนื้อหา ของข้อมูลบางส่วนซึ่งเก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์แบบลึก
 
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยสตรีไทยมุสลิมมีการปรับตัวเชิงวัฒนธรรมรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และมีการปรับตัวเชิงวัฒนธรรมในด้านการตรวจวินิจฉัยโรคดีกว่าด้านอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบว่า ลักษณะทางประชากร รวมที่ประสบการณ์ความเจ็บป่วย มีผลต่อการปรับตัวในระหว่างการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสตรีไทยมุสลิม โดยมีปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปรับตัวได้ตามลำดับคือ จำนวนปีที่ศึกษาสายสามัญ การพักรักษาในแผนกศัลยกรรมโรคและอาการเจ็บป่วยในครั้งนี้ และจำนวนครั้งที่เคยเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลรอบปีที่ผ่านมา โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรการปรับตัวเชิงวัฒนธรรมได้ร้อยละ 37.33 และการศึกษาครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ความเชื่อของวัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่นบางอย่างอาจเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวในระหว่างการพักรักษาในโรงพยาบาลแม้จะไม่ใช่ข้อกำหนดทางศาสนาโดยตรง ดังนั้นการพิจารณาวัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่นร่วมกับวัฒนธรรมอิสลามจึงอาจมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมุสลิมได้ดียิ่งขึ้นต่อไปได้
Author
วรรณฤดี ชินช่วยแรง
Year
2541
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับความรุนแรง
  • ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สังคม วัฒนธรรม
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยมหิดล