Knowledge Management of Women in the South

Title
การเป็นหญิง”หม้าย” กับความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมและโครงสร้างในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
Abstract
การนิยามผู้หญิงที่สูญเสียสามีจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ให้เป็น “หญิงหม้าย” นั้นถือเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ทำให้คุณค่าของ ผูกหญิงถูกลดทอนลงด้วยการผูกคุณค่าของผู้หญิงไว้กับการมีผู้ชายเป็นผู้นำ การเป็นหญิงหม้ายในทางหนึ่งจึงกลายเป็นความไม่สมบูรณ์และความอ่อนแอซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ชายในชุมชน เข้ามาล่วงละเมิดจนกลายเป็นที่จับตาและสอดส่องของชุมชน หญิงหม้าย จึงต้องใช้การแต่งงานใหม่เป็นกลไกในการเพิ่มคุณค่าและความสมบูรณ์ให้แก่ตัวเอง อย่างไรก็ตามการแต่งงานของ หญิงหม้ายส่วนมากมักจะเป็นการแต่งงานเพื่อเป็นภรรยาคนที่สองหรือลำดับถัดมา ซึ่งทำให้ พวกเธอต้องเผชิญกับปัญหาความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมอีกระลอกหนึ่งนั่นคือการให้คุณค่าของ ภรรยาที่มาก่อนและมาทีหลังต่างกัน (เมียหลวง-เมียน้อย) ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การเข้ามาแต่งงาน เพื่อหาผลประโยชน์จากผู้ชาย รวมถึงการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ เช่น การใช้กำลังทำร้าย ข่มขู่ว่าจะเลิก
 
ในที่สุดหญิงหม้ายเหล่านี้จึงได้เข้าไปอาศัยกลไกเชิงระบบเพื่อเข้ามาจัดการข้อพิพาท หรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นอันเป็นผลที่สืบเนื่องจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม โดยการใช้การ ฟ้องร้อง การฟ้องหย่า เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างตนเองกับสามีใหม่ผ่านอำนาจการวินิจฉัยของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดซึ่งได้รับแต่งตั้งขึ้นตามโครงสร้างที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตามอำนาจในการวินิจฉัยของ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแม้โดยทฤษฎีแล้วจะอยู่บนฐานของความเท่าเทียมกัน ระหว่างหญิงชายแต่ในทางปฏิบัติแล้วการคัดเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระทำ โดยผู้ชายทั้งหมด ทำให้อำนาจในการวินิจฉัยต่างๆ ตกเป็นของผู้ชาย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ของหญิงหม้ายจึงมักไม่ละเอียดอ่อนต่อการเข้าถึงความรู้สึกของผู้หญิงและขาดการมุ่งมอง บริบทที่แวดล้อมหญิงหม้ายเหล่านั้น หญิงหม้ายจึงกลายเป็นผู้ที่ถูกความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ผ่านกลไกเชิงระบบของรัฐในรูปของการบริหารองค์กรอิสลามเข้าซ้อนทับกับความรุนแรงของ การเป็นหญิงหม้ายในเชิงวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับบริบทของสังคมมลายู ศักยภาพในการจัดการ กับความรุนแรงของหญิงหม้ายจึงเหลือพื้นที่อยู่อย่างจำกัดมาก เช่น การใช้อำนาจเชิงระบบ ของกฎหมายอาญาเข้ามาเป็นกลไกต่อรอง แต่เนื่องจากผู้หญิงมุสลิมในสังคมมลายูไม่ได้มีความ รู้ทั้งในด้านกฎหมายมากนักทำให้ท้ายที่สุดหญิงหม้ายก็ยังคงตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่ทับกันถึงสามชั้นคือ ความรุนแรงทางกายภาพ ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม เช่นเดิม (มนวัชน์ พรหมรัตน์และคณะ, 2558)
Author
มนวัชน์ พรหมรัตน์ และคณะ
Year
2558
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับความรุนแรง
  • ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สังคม วัฒนธรรม
Type
วารสาร
Organization