Knowledge Management of Women in the South

Title
ความเครียดและการเผชิญความเครียดของหญิงม่ายที่สามีเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาหญิงม่ายที่อยู่ในศูนย์รอตันบาตู จังหวัดนราธิวาส
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและการเผชิญความเครียดของหญิงม่ายที่สามีเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชากรหญิงม่ายที่พักอาศัยอยู่ในศูนย์รอตันบาตู จังหวัดนราธิวาส จำนวน 100 คน ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ส่วนที่ 2 แบบวัดความเครียด และส่วนที่ 3 แบบวัดการเผชิญความเครียดของหญิงม่าย ตรวจสอบความตรองของแบบสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronvach’s alpha coefficient) ได้ค่าแอลฟาขอแบบสอบถามความเครียดเท่ากับ .85 และค่าแอลฟาของแบบสอบถามวัดการเผชิญความเครียดเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          
ผลการวิจัยความเครียดด้านร่างกายมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางส่วนความเครียดด้านจิตใจอารมณ์และสังคมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนการเผชิญความเครียดพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาในระดับสูง โดยใช้วิธีการกล้าเผชิญหน้ากับปัญหามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงกว่าการวางแผนแก้ปัญหา ส่วนการเผชิญหน้าความเครียดแบบจัดการกับอารมณ์พบว่าวิธีการควบคุมตนเองเป็นวิธีการที่ใช้กันมากที่สุดและการหลีกหนีปัญหาให้กันน้อยที่สุด
          
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือหญิงม่ายที่สามีเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะหญิงม่ายที่พักอาศัยในศูนย์รอดันบาตู จังหวัดนราธิวาส และหญิงม่ายที่สามีเสียชีวิตในเหตุการณ์อื่นๆ ให้สามารถเผชิญกับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการสูญเสียผู้นำครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
Author
พรทิพย์ พันธ์นรา
Year
2549
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับปัญหาชายแดนภาคใต้
  • ผู้ได้รับผลกระทบ
Type
สารนิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์