Knowledge Management of Women in the South

Title
ประสบการณ์ของผู้หญิงที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บ จากสถานการณ์ความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้หญิงที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ใช้มุมมองจากแนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้หญิงที่ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวและเป็นผู้ดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 12 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ตามแนวทางของ Burnard (1991) ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ของผู้หญิงที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การตั้งตัวไม่ทัน 2) ภาระที่หนักอึ้ง ประกอบด้วย ภาระรายรับรายจ่าย ภาระการดูแลและภาระทางอารมณ์ 3) ความรับผิดชอบของผู้หญิง ประกอบด้วย การร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นความภาคภูมิใจและทำทุกอย่างเพื่อครอบครัว และ 4) การเผชิญและปรับเปลี่ยน ประกอบด้วยการยอมรับเวรกรรม สร้างความหวัง ระบายออกด้วยการร้องไห้ หากำลังใจให้ตัวเอง หาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและมองหาความช่วยเหลือจากสังคม ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงประสบการณ์ของผู้หญิงที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางในการช่วยเหลือดูแลผู้หญิงเหล่านี้ต่อไป
Author
อาภาภรณ์ ดำรงสกุล
Year
2551
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับปัญหาชายแดนภาคใต้
  • ผู้ได้รับผลกระทบ
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย