Knowledge Management of Women in the South

Title
สถานภาพและการปรับตัวของสตรีมุสลิมหม้ายในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา: สตรีมุสลิมหม้ายในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา
Abstract
ผลการวิจัยพบว่าสตรีมุสลิมหม้ายส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 34-51 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 6 ไม่มีอาชีพที่แน่นอนตั้งแต่ดั้งเดิม นางมักจะตระหนักในการศึกษามากที่สุด เพื่ออนาคตที่แจ่มใสของลูก ส่วนสตรีหม้ายที่ถูกหย่าร้าง ส่วนใหญ่สาเหตุอันเนื่องมาจากสามีไม่รับผิดชอบและมีชู้กับผู้หญิงอื่น ทั้งๆ สาเหตุการต่างงานอันเนื่องจากชอบและรักกัน นางที่มีฐานะดีตั้งแต่ดั้งเดิม สามารถพาตัวรอด ส่วนนางที่มีฐานะไม่ดีตั้งแต่ดั้งเดิมมักจะลำบาก ทุกข์ยาก ต้องรับภาระเลี้ยงลูกคนเดียว โดยภาพรวมนางจะเผชิญกับปัญหาความยากจนเป็นประการสำคัญ รองลงมาปัญหาการเลี้ยงดูบุตร ส่วนปัญหาความสาหัสด้านจิตใจ การปรับตัวอยู่กับระดับการศรัทธามั่นของแต่ละคน ส่วนมากมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอยู่ในระดับที่แตกต่าง มีความสัมพันธ์อันดีงามกับมวลมนุษย์ด้วยกัน ภรรยาและลูกของเจ้าหน้าที่ของรัฐเสียชีวิตในเหตุการณ์ไม่สงบจะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล
          
ส่วนภรรยาที่สามีถูกกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐ ภรรยาของสามีที่เสียชีวิติเนื่องจากโรคทางธรรมชาติและสตรีมุสลิมหม้ายที่หย่าร้าง ไม่มีองค์กรใดมาให้ความช่วยเหลือทั้งภาครัฐและเอกชน (ฮามีดะห์ มาสาระกามา, ฮาลานะ นาแตนิง, อาหะมะ คาเด, และ หนุ๊ มาสาระกามา, 2555)
Author
ฮามีดะห์ มาสาระกามา ฮาสนะ นาแตนิง อาหะมะ คาเด และ หนุ๊ มาสาระกามา
Year
2555
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับความรุนแรง
  • ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สังคม วัฒนธรรม
Type
งานวิจัย
Organization
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)