Knowledge Management of Women in the South

Title
เสียงเงียบจากชายแดนใต้…เมื่อผู้หญิงถูกทำร้ายจากความรุนแรง
Abstract
สำหรับอุปสรรคปัญหาที่ทำให้ความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิงไม่บรรเทาเบาบางลง หรือยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีพอ ได้แก่
      1.ทุกฝ่ายไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อผู้หญิงอย่างจริงจัง มองเพียงว่าผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิตเป็นเพียงเพราะถูกลูกหลง
      2.การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีอาวุธทำให้มีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายโดยตรง และเป็นการส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
      3.ความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประชาชนมลายูมุสลิมกับรัฐมีน้อย
      4.ภาษาที่แตกต่างกันทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด หรือเข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ เท่าที่ควร
      5.การบังคับใช้กฎหมายพิเศษหลายฉบับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติต่อผู้หญิงไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติเหมือนกรณีทั่วไปที่ผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาเป็นผู้ชาย และไม่ได้เตรียมการสำหรับรองรับผู้ถูกควบคุมตัวที่เป็นผู้หญิงอย่างดีพอ
      6.ฝ่ายความมั่นคงดำเนินมาตรการต่างๆ ภายใต้หลักคิดที่ว่าผู้หญิงไม่ใช่เป้าหมายโดยตรง
      7.ฝ่ายขบวนการปลดปล่อยปัตตานีไม่ได้คำนึงถึงผลจากการกระทำที่เกิดกับผู้หญิง
 
ขณะที่ประเด็นท้าทายในการปกป้องผู้หญิงจากการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงโดยตรง ได้แก่
      1.หลายๆ เหตุการณ์ การเสียชีวิตและบาดเจ็บของผู้หญิงเป็นผลมาจากการใช้ระเบิดในที่สาธารณะ ดังนั้นความท้าทายนี้คือการหยุดการใช้ระเบิดและการก่อเหตุในที่สาธารณะได้อย่างไร
      2.มีเหตุรุนแรงที่ผู้หญิงตกเป็นเป้าหมายโดยตรง การป้องกันมิให้ผู้หญิงถูกกระทำรุนแรง จะดำเนินการได้อย่างไร ต้องลดเงื่อนไขตรงจุดไหนบ้าง
 
แต่ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายอย่างไร ย่อมเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องช่วยกันเพื่อลดความสูญเสียของเป้าหมายอ่อนแออย่างผู้หญิงและเด็ก โดยเฉพาะในความขัดแย้งทางความคิดความเชื่อและอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป้าหมายเหล่านั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย.
Author
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
Year
2557
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับปัญหาชายแดนภาคใต้
  • ผู้ได้รับผลกระทบ
Type
บทความ
Organization
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม