ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ
WALAILAK UNIVERSITY
ห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
“ห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้” เป็นโครงการภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวมวล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางให้บริการวิเคราะห์ทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แบบครบวงจรให้กับหน่วยงานรัฐและเอกชน โดยปฏิบัติตามมาตรฐานต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น Thai Industrial Standards Institute (TISI), American Society for Testing and Materials (ASTM), International Organization for Standardization (ISO), Japanese Industrial Standards (JIS) และ European Standard (EN) การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบไม้และไม้ประกอบนั้นเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บริการทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เช้น มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยทางด้านไม้ รวมถึงภาคเอกชน เช่น สถานประกอบการต่างๆ เนื่องจากห้องปฏิบัติการแห่งนี้มีเครื่องมือที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีคุณภาพ จึงได้รับการยอมรับและระบุความต้องการใช้บริการมากขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าวนี้ คือ เป็นศวูนย์กลางที่ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมถึงสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย คือ “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล”​
ห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

 

  • มอก. 178 – 2549 แผ่นไม้อัด (Veneer Plywood)
  • มอก. 180 – 2532 แผ่นไม้อัดแข็ง (Hard Fiberboard: Hardboards)
  • มอก. 876 – 2547 แผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ Flat Pressed: Particleboards)
  • มอก. 878 – 2537 แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์: ความหนาแน่นสูง (Cement Boarded Particleboard: High Density)
  • มอก. 966 – 2547 แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (Medium Density Fibreboards: MDF)
  • มอก. 2423 – 2552 ไม้ยางพาราแปรรูป (Rubberwood Lumber)
 
การบริการวิเคราะห์ทดสอบไม้และไม้ประกอบของห้องปฏิบัติการ
  • บริการทดสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของไม้
  • บริการทดสอบหาค่า %BAE ในไม้ยางพาราแปรรูป
  • บริการทดสอบสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของไม้ประกอบ (Particleboard, MDF, OSB และ Plywood)
  • บริการทดสอบปริมาณสารระเหยฟอร์มัลดีไฮด์ในไม้ประกอบ
  • บริการทดสอบหาคุณสมบัติทางเคมีของไม้
  • บริการทดสอบความแข็งแรงและสมบัติผิวหน้าของเครื่องเรือนไม้
การตรวจสอบคุณภาพของไม้ยางพาราแปรรูปที่ผ่านการอัดน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้
การตรวจสอบการระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์จากแผ่นไม้ประกอบ
การตรวจสอบปริมาณคงค้างของฟอร์มัลดีไฮด์ในไม้ประกอบตามมาตรฐาน EN 120 : 1992 (Perforator method)
การทดสอบความหนาแน่น (Density)

การต้านแรงดัดและมอดุลัสยืดหยุ่น (Modulus of Rupture and Modulus of Elasticity)

ขั้นตอนการขอรับบริการวิเคราะห์/ทดสอบ

  1. ขั้นตอนการส่งตัวอย่าง
– ดูรายละเอียดวิธีการทดสอบ อัตราค่าบริการ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มส่งชิ้นตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์
– ส่งตัวอย่างพร้อมกับแบบฟอร์มส่งชิ้นตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ไปยังห้องปฏิบัติการได้ด้วยตนเอง หรือส่งทางพัสดุไปรษณีย์มายังที่อยู่ที่แจ้งไว้
– เจ้าหน้าที่รับตัวอย่างไว้ กรอกแบบฟอร์มใบรับตัวอย่าง นำชิ้นตัวอย่างไปเตรียมความพร้อมและดำเนินการ
 ส่งใบเรียกเก็บค่าบริการไปให้ให้ผู้รับบริการ
  1. วิธีการชำระค่าบริการ
– ในกรณีที่เข้ามารับผลการทดสอบด้วยตนเอง สามารถชำระเป็นเงินสดได้ที่ ฝ่ายธุรการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 (B5) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
– กรณีที่ไม่ได้เข้ามารับผลการทดสอบด้วยตนเองแต่ให้ส่งไปทางไปรษณีย์ ให้ชำระค่าบริการ โดยการโอนเงินเข้าบัญชี
 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ธนาคารกรุงไทย สาขาท่าศาลา เลขที่บัญชี 828-1-14776-8 หรือ
 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ธนาคารออมสิน สาขาท่าศาลา เลขที่บัญชี 0-5328119462-0
– ส่งหลักฐานการโอนเงินที่ระบุชื่อผู้รับบริการ รายการทดสอบ และเลขที่ใบขอส่งตัวอย่าง มายังหมายเลข 075-673671 หรือส่งผ่าน wood@wu.ac.th เพื่อขอรับผลการทดสอบและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์
  1. วิธีการรับผลวิเคราะห์/ทดสอบ
– นำหลักฐานการชำระเงินมารับผลการทดสอบได้ด้วยตนเองที่ฝ่ายธุรการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 (B5) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
– รับผลทางไปรษณีย์ โดยจะคิดค่าบริการ 50 บาท กรณีจัดส่งตัวอย่างชิ้นงานคืนทางไปรษณีย์คิดค่าจัดส่ง 100 บาท
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้
อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 (B2) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
โทรศัพท์ / โทรสาร : 075-673671 Email address: wood@wu.ac.th

แนะนำงานบริการศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวมวล

แนะนำวิธีการทดสอบหาปริมาณสารประกอบโบรอนในไม้ยางพาราด้วยวิธีไตเตรต