KM of Women in the South
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งยังมีความขาดแคลนองค์ความรู้ที่ในด้านนี้อยู่ และยังไม่มีหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการความรู้ความเข้า การศึกษาวิจัยทางด้านนี้อย่างจริงจังมาก่อน ดังนั้นจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นความมั่นคงทางสังคม แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ และเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านผู้หญิงของภาคใต้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) จึงได้ดำเนินโครงการทบทวนสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงที่ได้มีการศึกษากันมาตั้งแต่อดีต นำไปสู่การนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านเพศสภาพ บทบาทของผู้หญิง และความยุติธรรมทางสังคมหลากมิติผ่านศาสตร์ด้านวัฒนธรรมศึกษา ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ นำเสนอแนวทางการเชื่อมต่องานบริการวิชาการและการวิจัยด้านสิทธิสตรีและความยุติธรรมทางสังคมให้กับชุมชน

Maternal and Child Health

Wisdom of Maternal and Child Health 13 Topic
1. วิเคราะห์การบริการอนามัยแม่และเด็กของผดุงครรภ์โบราณ ปี พ.ศ. 2533 : กรณีศึกษาที่จังหวัดกระบี่
2. ศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมการพยาบาลขณะคลอดตามความคาดหวังกับการได้รับบริการจริง: กรณีศึกษาสตรีหลังคลอดที่โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่
3. พฤติกรรมอนามัยแม่และเด็กของมารดาไทยมุสลิม ศึกษากรณีอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
4. การหาสื่อที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี
5. ผดุงครรภ์โบราณกับการดูแลแม่และเด็กชาวไทยมุสลิม ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
6. ประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ การคลอด และการปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด ใน 4 พื้นที่ศึกษา 4 ภาคของประเทศไทย
7. บทบาทผดุงครรภ์โบราณใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
8. การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในระยะตั้งครรภ์: กรณี ศึกษาสตรีไทยมุสลิมในภาคใต้
9. ชุดความรู้ ม.อ. เล่ม 1/2550 อนามัยแม่และเด็ก
10. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณของมารดาไทยมุสลิม : กรณีศึกษา ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
11. ภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตแม่และเด็ก
12. ความกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน
13. พืชสมุนไพรที่ใช้ดูแลสุขภาพสตรีจากอุทยานแห่งชาติพนมเบญจา จังหวัดกระบี่