ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ
WALAILAK UNIVERSITY

กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ

"เทคนิคการอบไม้ เทียม ตะเคียน ยางนาประสิทธิภาพสูง"

วันที่ 28 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30 น. – 15.30 น. อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

   ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำทีมโดย รศ.ดร.นิรันดร มาแทน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศฯ และคณะผู้วิจัย ได้จัดงานกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการอบไม้ เทียม ตะเคียน ยางนาประสิทธิภาพสูง” ให้แก่ หน่วยงานองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและนักศึกษา ในวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผศ.ดร.สัจจพันธ์ ลีละตานนท์ รักษาการแทนรองคณบดี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวเปิดงาน

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการอบไม้ เทียม ตะเคียน ยางนาประสิทธิภาพสูง” มีหัวข้อบรรยาย ดังนี้

    1. ความจำเป็น ความรู้พื้นฐาน และการพัฒนาเทคนิคการอบไม้มีค่าในอุตสาหกรรม
      • ผู้บรรยาย : รศ.ดร. นิรันดร มาแทน มหาวิทยาลัยลักษณ์
    2. การพัฒนาเทคนิคการวัดความเค้นในไม้สาหรับการอบไม้มีค่าในอุตสาหกรรม
      • ผู้บรรยาย : ผศ.ดร. สถาพร จันทวี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
    3. การออกแบบตารางการอบไม้ เทียม ตะเคียน และยางนา โดยใช้เทคนิคการวัดแรงคืนตัวของชิ้นไม้ผ่าครึ่ง
      • ผู้บรรยาย : ผศ.ดร. สัจจพันธ์ ลีละตานนท์ มหาวิทยาลัยลักษณ์
    4. ระบบควบคุมการอบไม้อัตโนมัติควบคุมโดยค่าความเค้นที่เกิดขึ้นในไม้ระหว่างการอบ
      • ผู้บรรยาย : นายทวีศิลป์ วงศ์พรต มหาวิทยาลัยลักษณ์
    5. การอบไม้ สะเดาเทียม ตะเคียน และยางนา แนวทางสาหรับอุตสาหกรรม (Q/A)
      • ผู้บรรยาย : รศ.ดร. นิรันดร มาแทน มหาวิทยาลัยลักษณ์

  การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ทางคณะผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างระบบ DryWooD-Design ซึ่งเป็นระบบออกแบบตารางการอบไม้ประสิทธิภาพสูงโดยการนาเทคโนโลยีระบบควบคุมการอบไม้อัตโนมัติผนวกเข้ากับระบบวัดความเค้นในไม้แบบต่อเนื่อง เพื่อออกแบบตารางอบไม้ประสิทธิภาพสูงสำหรับไม้มีค่า และได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่ส่วนพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปพัฒนาและใช้ในกระบวนการอบไม้มีค่าในระดับอุตสาหกรรมต่อไป