รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รักษาการคณบดีสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการกระบี่โมเดลปีที่ 2 ในพื้นที่อำเภอลำทับ อำเภอคลองท่อม และอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

Associate Professor Dr. Siwarit Pongsakornrangsilp Acting Dean, School of Management Walailak University and Assistant Professor Dr. Pimlapat Pongsakornrangsilp Head of Center of Excellence in Tourism Business Management and Creative Economy along with the project leader faculty Researchers and researchers from graduate school School of Science and School of Management Walailak University along with researchers from the Faculty of Agriculture Rajamangala University of Technology Srivijaya Sai Yai Campus Field visits to monitor progress of the Krabi Model Year 2 project in Lam Thap District, Khlong Thom District and Nuea Khlong District, Krabi Province Farmers and entrepreneurs in the community participated in following up and providing information on research progress. In one word, I am satisfied with what the researchers have driven together because they can clearly see the concrete results under the support of research funding from the Spatial Development Capital Management Unit (SCAT).

The first point that the researchers went to follow the progress at Thung Sai Thong Sub-district, Lam Thap District, Krabi Province was the implementation of the Rang Rai Mushroom Development Project. with Associate Professor Dr. Chatchai Kalyanapapon, Associate Professor at the School of Science. and Master Dean or mushroom engineers who have led faculty and scientists from Walailak University Field trips to develop mushroom net cultivation, including mushroom inoculation, which, from follow-up, found that farmers can efficiently produce and cultivate mushroom nets to reduce dependency on external purchases by using materials and In-house raw materials Not dependent on outside

Next came a visit to the development of batik tie-dye fabrics at the Klong Thom Nuea women’s group with Assistant Professor Waluka Emek who was responsible for the production model development project. Nuea Khlong District to monitor the driving of feather algae production with Assistant Professor Dr. Thiyaporn Kaewtawee, Prince of Songkla University is responsible Palm planting with a development goal of not less than 4.5 tons per rai per year, which Dr. Thanet Kompetch from Walailak University is responsible. and raising goats in a palm plantation with Associate Professor Dr. Chaiwan Wattanachan, Prince of Songkla University, who now has the third generation of young goats that are ready to expand to other farmers. Taling Chan Subdistrict Nuea Khlong District Krabi

Thanks to Prof. Dr. Kanok Wongtrangan and MP Dr. Pimrapee Phanwichatkul, MP Sakorn related, and Mr. Thanawat Phukaoluen, as well as civil servants in government agencies involved in promoting and driving sustainable income generation for local communities. The Krabi Model project uses innovation, generating income of ten thousand baht per household, sustainably, without waiting, not asking to act using scientific knowledge. Research and innovation from the university with various networks within Krabi province. Set a target to earn 10,000 baht per person per month. Let’s use innovation to create a well-behaved Krabi with sustainable income with us “Krabi Model”

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รักษาการคณบดีสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมด้วยคณาจารย์หัวหน้าโครงการ วิจัยและนักวิจัยจาก บัณฑิตวิทยาลัย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยนักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยวิทยาเขตไสใหญ่ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการกระบี่โมเดลปีที่ 2 ในพื้นที่อำเภอลำทับอำเภอคลองท่อมและอำเภอเหนือคลองจังหวัดกระบี่ โดยมีเกษตรกรและผู้ประกอบการในชุมชนร่วมติดตามและให้ข้อมูลความก้าวหน้าแก่งานวิจัย บอกได้คำเดียวอิ่มอกอิ่มใจกับสิ่งที่นักวิจัยได้ร่วมขับเคลื่อนเพราะเห็นผลผลิตที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ (บพท.)

จุดแรกที่คณะนักวิจัยลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าที่ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่เป็นการดำเนินการโครงการพัฒนาเห็ดร่างแห  โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย กัลยาณปพน  รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์  และอาจารย์ดีน หรือวิศวกรเห็ดที่ได้นำคณาจารย์และนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาการเพาะเห็ดร่างแหรวมถึงการจัดทำเชื้อเห็ดซึ่งจากการติดตามผลพบว่าเกษตรกรสามารถผลิตและเพาะเห็ดร่างแหได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถจัดทำเชื้อเห็ดเพื่อลดการพึ่งพาจากการซื้อจากภายนอกโดยใช้วัสดุและวัตถุดิบจากภายในครัวเรือน  ไม่ต้องพึ่งพาจากภายนอก

ถัดมาได้เยี่ยมพื้นที่การพัฒนาผ้ามัดย้อมบาติก ณ  กลุ่มแม่บ้านสตรีคลองท่อมเหนือที่มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาลุกา  เอมเอก เป็นผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนารูปแบบการผลิตและจะมีการนำโครงการส่งเสริมตลาดเข้าไปดำเนินการเพิ่มเติมก่อนเดินไปยังอำเภอเหนือคลองเพื่อติดตามการขับเคลื่อนการผลิตสาหร่ายขนนกที่มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีญาภรณ์ แก้วทวี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้รับผิดชอบ การปลูกปาล์มที่มีเป้าหมายการพัฒนาให้ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 4.5 ตันต่อไร่ต่อปีที่มี ดร.ธเนศ คอมเพ็ชร จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้รับผิดชอบ และการเลี้ยงแพะในสวนปาล์มที่มีรองศาสตราจารย์ ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ตอนนี้ได้ลูกแพะเป็นรุ่นที่สามที่พร้อมขยายผลให้กับเกษตรกรรายอื่นต่อไป ตำบลตลิ่งชัน  อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

ต้องขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน พร้อมด้วย ส.ส.ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.สาคร เกี่ยวข้อง และคุณธนวัช ภูเก้าล้วน ตลอดจนข้าราชการในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและขับเคลื่อนการสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยโครงการกระบี่โมเดลใช้นวัตกรรม สร้างรายได้ หนึ่งหมื่นบาทต่อครัวเรือน อย่างยั่งยืน ไม่รอ ไม่ขอ ลงมือทำโดยใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ภายในจังหวัดกระบี่ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 10,000 บาทต่อคนต่อเดือน มาใช้นวัตกรรมสร้างกระบี่กินดีอยู่ดีมีรายได้อย่างยั่งยืนกับ เรา “กระบี่โมเดล”

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *