logo

News

The 2nd School of Allied Health Sciences International Conference 2023 (SAHIC 2023) “New Trends in Health Sciences: Medical Innovation and Technology”

  สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอเรียนเชิญบุคลากรและผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการ  The 2nd School of Allied Health Sciences International Conference 2023 (SAHIC 2023) “New Trends in Health Sciences: Medical Innovation and Technology” ในวันที่ 25 มีนาคม 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์  การประชุมในครั้งนี้จัดโดย ศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยด้านนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (RECIHP) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยโรคเมลิออยโดลิส (CERMM) ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต (HTSRC) และศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (HTSRC) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.asia/OBDoR   – ได้รับคะแนน CMTE/PTCEU (รอพิจารณาอนุมัติ) – Registration form: SAH International Conference 2023 For Attendee https://forms.gle/DZ7oxJb5apgD5x8E8 

The 2nd School of Allied Health Sciences International Conference 2023 (SAHIC 2023) “New Trends in Health Sciences: Medical Innovation and Technology” Read More »

Rewritten genetic code allows bacteria to fend off viral attacks

Rewritten genetic code allows bacteria to fend off viral attacks Strategy could keep potentially dangerous genes from escaping from genetically modified organisms   Bacteria with a revised genetic code resist attacks from invaders, such as viruses known as bacteriophages (green).PATRICK LANDMANN/SCIENCE PHOTO LIBRARY     Call it a genetic firewall. By partially rewriting the genetic

Rewritten genetic code allows bacteria to fend off viral attacks Read More »

“โรคไข้ดิน” ป่วยสะสม 2,314 คน เสียชีวิต 34 คน

กรมควบคุมโรค เตือนโรคเมลิออยด์ หรือไข้ดิน หากติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตได้ เลี่ยงเดินลุยน้ำย่ำโคลน น้ำท่วมขัง พบป่วยสะสม 2,314 คน เสียชีวิต 34 คนกลุ่มเสี่ยงโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไตเรื้อรัง โรคธาลัสซีเมีย วันนี้ (19 ต.ค.2565) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงนี้ยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่ ทำให้มีน้ำท่วมขังหรือดินชื้นแฉะ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมและเกษตรกร หรือผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสดินและน้ำโดยตรง รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และโรคธาลัสซีเมีย จะมีความเสี่ยงป่วยโรคเมลิออยด์สูง เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุจะอยู่ในดินและในน้ำ จะเข้าสู่ร่างกายได้ทางการดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ และทางผิวหนัง หรือการสูดหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อเจือปนเข้าไป หลังติดเชื้อ1-21 วันจะมีอาการเจ็บป่วย นพ.ธเรศ กล่าวว่า ส่วนบางรายอาจนานเป็นปี ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับและภูมิต้านทานของแต่ละคน อาการของโรคนี้ไม่มีลักษณะเฉพาะ จะมีความหลากหลายคล้ายโรคติดเชื้ออื่นๆ หลายโรค เช่น มีไข้สูง มีฝีที่ผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อเฉพาะที่ หรือติดเชื้อแล้วแพร่กระจายทั่วทุกอวัยวะและเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้เป็นหลัก ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก

“โรคไข้ดิน” ป่วยสะสม 2,314 คน เสียชีวิต 34 คน Read More »

Odd cave bacterium forms a multicellular ‘body,’ like plants and animals

A newly described bacterium is shaking up what it means to be a complex organism. The bizarre microbe, found by Japanese ecologists seeking biodegradable plastics, starts out as a single cell. But instead of remaining a single cell like most microbes, it then develops an organized body comprised of hundreds of cells. When the time

Odd cave bacterium forms a multicellular ‘body,’ like plants and animals Read More »

ARDA RESEARCH EXPO 2022 : สุดยอดเกษตรไทยยุคใหม่ สุดยอดเกษตรไทยยุคใหม่ ยกระดับด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

ARDA RESEARCH EXPO 2022 : สุดยอดเกษตรไทยยุคใหม่ สุดยอดเกษตรไทยยุคใหม่ ยกระดับด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม https://fb.watch/fqq4-uXb8u/ https://riie.wu.ac.th/cermm/wp-content/uploads/sites/21/2022/09/2022-09-09_9-49-57.mp4

ARDA RESEARCH EXPO 2022 : สุดยอดเกษตรไทยยุคใหม่ สุดยอดเกษตรไทยยุคใหม่ ยกระดับด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม Read More »

ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ที่ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร เรื่อง “สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียเพื่อการคัดแยก Burkhlderia pseudomallei” และ “อาหารคัดเลือกจำเพาะสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน” อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ที่ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2565 ผลงาน เรื่อง “สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียเพื่อการคัดแยก Burkhlderia pseudomallei” ซึ่งผลงานนี้เป็นการพัฒนาสูตรอาหารใหม่สำหรับเลี้ยงเชื้อและคัดแยกเชื้อแบคทีเรีย B. pseudomallei ซึ่งเจริญได้ในอาหารที่มีแหล่งพลังงานจากน้ำตาลและเสริมโปรตีน พบการเจริญของเชื้อส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกรดด่าง (pH) ทำให้โคโลนีเกิดการเปลี่ยนสีแตกต่างแยกได้จากแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ซึ่งจะทราบผลภายในเวลา 48 ชั่วโมง สามารถระบุเชื้อและวินิจฉัยโรคได้เร็วจากที่โดยวิธีการทั่วไปต้องใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 3-5 วัน ซึ่งอาจทำให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างล่าช้าหรืออาจทำให้ใช้วิธีการรักษาที่ไม่เหมาะสม และ ผลงาน เรื่อง “อาหารคัดเลือกจำเพาะสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน” ซึ่งผลงานนี้เพื่อพัฒนาอาหารคัดเลือกจำเพาะสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน เจริญได้ในอาหารที่ประกอบด้วยเพปโทนและน้ำตาลเด็กโตรส เป็นแหล่งพลังงาน มีกากถั่วเหลืองเป็นแหล่งวิตามิน และยูเรียกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ยูเรียเอสของเชื้อทริโคพัยตอน พบการเจริญเชื้อส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกรดด่าง (pH) ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ช่วยให้อ่านผลได้ง่ายขึ้น

ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร Read More »

รศ.ดร.วิยดา กวานเหียน กลางบุตร และ ดร.วิลาวัณย์ ผลาชุม ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร

รศ.ดร.วิยดา กวานเหียน กลางบุตร และ ดร.วิลาวัณย์ ผลาชุม อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ณ วันที่ 4 เมษายน 2565 ผลงาน เรื่อง “กรรมวิธีการผลิตผงน้ำส้มจาก” โดยได้รับการจดทะเบียนร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ซึ่งผลงานกรรมวิธีการผลิตผงน้ำส้มจากเป็นกรรมวิธีที่ให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ผงน้ำส้มจากสีขาวแกมเหลืองที่มีความคงตัว สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารชนิดเปรี้ยว ผงเครื่องดื่มปรุงรสพร้อมชง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูลอัดเม็ด หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ และกรรมวิธีการผลิตดังกล่าวก็เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่เหมาะสำหรับลูกค้าหรือผู้ที่สนใจในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผงน้ำส้มจากเป็นส่วนผสมหลัก

รศ.ดร.วิยดา กวานเหียน กลางบุตร และ ดร.วิลาวัณย์ ผลาชุม ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร Read More »