KM of Women in the South
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งยังมีความขาดแคลนองค์ความรู้ที่ในด้านนี้อยู่ และยังไม่มีหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการความรู้ความเข้า การศึกษาวิจัยทางด้านนี้อย่างจริงจังมาก่อน ดังนั้นจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นความมั่นคงทางสังคม แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ และเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านผู้หญิงของภาคใต้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) จึงได้ดำเนินโครงการทบทวนสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงที่ได้มีการศึกษากันมาตั้งแต่อดีต นำไปสู่การนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านเพศสภาพ บทบาทของผู้หญิง และความยุติธรรมทางสังคมหลากมิติผ่านศาสตร์ด้านวัฒนธรรมศึกษา ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ นำเสนอแนวทางการเชื่อมต่องานบริการวิชาการและการวิจัยด้านสิทธิสตรีและความยุติธรรมทางสังคมให้กับชุมชน

Population Education

Family Planning 15 Topic
1. ทัศนคติของนักศึกษาวิทยาลัยครูยะลาระดับ ปกศ.สูงภาคใต้ต่อการทำแท้ง
2. การศึกษาเปรียบเทียบความรู้และการวางแผนครอบครัวของสตรีไทยและสตรีไทยมุสลิมในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
3. การให้บริการด้านการวางแผนครอบครัวในสี่จังหวัดภาคใต้ของไทย
4. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำหมันของสตรีในเขตชนบท ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้
5. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการคุมกำเนิดของสตรีไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา
6. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำหมันของสตรีในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
7. ความพึงพอใจของสตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ต่อบริการด้านการวางแผนครอบครัว
8. เรื่อง การสำรวจความรู้ ความคิดเห็น และพฤติกรรมด้านอนามัยแม่และเด็กกับการเว้นช่วงระยะการมีบุตร ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
9. ความตั้งใจที่จะใช้การคุมกำเนิดของสตรีโสดในภาคใต้
10. ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของสตรีมุสลิมในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
11. สถานการณ์ทำแท้งในภาคใต้ของประเทศไทย
12. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
13. การมีส่วนร่วมของผู้ชายต่อการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากรทางสุขภาพ
14. ผลของโปรแกรมสร้างเจตคติโดยการมีส่วนร่วมของสามีต่อความตั้งใจในการเว้นช่วงการมีบุตรของมารดาหลังคอดวัยรุ่นมุสลิม
15. ผลของโปรแกรมการใคร่ครวญด้วยอริยสัจสี่ต่อความตั้งใจคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น