KM of Women in the South
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งยังมีความขาดแคลนองค์ความรู้ที่ในด้านนี้อยู่ และยังไม่มีหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการความรู้ความเข้า การศึกษาวิจัยทางด้านนี้อย่างจริงจังมาก่อน ดังนั้นจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นความมั่นคงทางสังคม แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ และเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านผู้หญิงของภาคใต้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) จึงได้ดำเนินโครงการทบทวนสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงที่ได้มีการศึกษากันมาตั้งแต่อดีต นำไปสู่การนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านเพศสภาพ บทบาทของผู้หญิง และความยุติธรรมทางสังคมหลากมิติผ่านศาสตร์ด้านวัฒนธรรมศึกษา ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ นำเสนอแนวทางการเชื่อมต่องานบริการวิชาการและการวิจัยด้านสิทธิสตรีและความยุติธรรมทางสังคมให้กับชุมชน

Population Education

Migration, Movement of Women for Work 8 Topic
1. การย้ายถิ่นของสตรีบางประเภทจากจังหวัดภาคเหนือกับการท่องเที่ยวของเมืองสงขลา-หาดใหญ่
2. ปัจจัยชักนำให้ผู้หญิงใต้มาประกอบอาชีพในสถานบริการทางใต้มากขึ้น
3. In Service and Servitude: Foreign female domestic workers and the Malaysian “modernity” project
4. การวิเคราะห์เส้นทางถึงสาเหตุ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการอพยพของสตรีชนบทมาเป็นพนักงานอาบอบนวด และหญิงบริการในเทศบาลนครหาดใหญ่
5. การย้ายแรงงานสตรีในสี่จังหวัดชายแดนใต้ไปมาเลเซีย
6. สภาพความเป็นอยู่และการทำงานของแรงงานสตรีจากจังหวัดสตูลในประเทศมาเลเซีย
7. “ผู้หญิง” มลายูมุสลิมชายแดนใต้ : แรงงานรับจ้าง นอกระบบในประเทศมาเลเซีย
8. สาเหตุและผลกระทบของการเคลื่อนย้ายแรงงานสตรีมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าไปในประเทศมาเลเซีย