ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

นักวิจัยเด่นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

NRIIS

กิจกรรมอบรมการใช้งานระบบข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS)

สถาบันวิจัยและนวัตกรรม ได้จัดกิจกรรมอบรมการใช้งานระบบข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม 3 อาคารวิจัย เวลา 13.30 – 14.30 น. และ 15.00 – 16.00 น. เพื่อให้นักวิจัยได้รับทราบประโยชน์และการใช้งานระบบ NRIIS ในการเสนอขอรับทุนวิจัยจากแหล่งต่างๆรวมทั้งการติดตามสถานะของโครงการวิจัย ระบบ NRIIS (National Research and Innovation Information System) เป็นระบบที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศให้มีเอกภาพ มีความปลอดภัยและสิทธิ์การเข้าถึงระบบอย่างถูกต้อง ลดความซ้ำซ้อนของระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ และความซ้ำซ้อนของการสนับสนุนงานวิจัยของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ สำนักงบประมาณ หน่วยบริหารจัดการโปรแกรม (PMU) ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประสานงาน และนักวิจัย สามารถเข้าถึงงานวิจัยทั้งหมดที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ในปัจจุบันแหล่งทุนอุดหนุนการวิจัยหลักของประเทศ (PMU) มี 7 แหล่งทุน […]

กิจกรรมอบรมการใช้งานระบบข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) Read More »

ม.วลัยลักษณ์ วิจัยยกระดับน้ำมันปาล์มดิบ จากเกรดอาหารสัตว์เป็นเกรดเวชสำอาง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จับมือภาคีเครือข่าย วิจัยเพื่อยกระดับการผลิตของโรงบีบปาล์มชุมชนจากเกรดอาหารสัตว์เป็นเกรดเวชสำอาง ด้วยนวัตกรรมการกระตุ้นผลปาล์มสุกด้วยคลื่นไมโครเวฟร่วมกับแก๊สซิฟิเคชัน เป็นชุมชนแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ  หนิสอ  ในฐานะหัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสมาและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร และศูนย์ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัสดุเชิงฟังก์ชันและนาโนเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยทีมนักวิจัยของห้องปฏิบัติการพลาสมาฯ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านปาล์มน้ำมัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แผนกเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแสงอรุณปาล์มออยล์จังหวัดพังงา ภายใต้การสนับสนุนจาก สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สกว.และสวก. ร่วมกันวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันปาล์มดิบจากเดิมย่างด้วยเตาเผาฟืน เปลี่ยนเป็นการกระตุ้นด้วยคลื่นไมโครเวฟร่วมกับความร้อนจากเตาแก๊สซิฟิเคชัน  ทำให้โรงบีบปาล์มชุมชนสามารถเปลี่ยนกระบวนการผลิตน้ำปาล์มดิบจากเกรดอาหารสัตว์กิโลกรัมละ 20 – 30 บาท เป็นเกรดเวชสำอางกิโลกรัมละ 100 – 1000 บาท และถือเป็นโรงบีบปาล์มชุมชนแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบคุณภาพสูง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำมันปาล์มดิบมากกว่า 10 เท่า  ที่สำคัญยังพบว่าในน้ำมันปาล์มที่สกัดได้มีวิตามิน A และวิตามิน E สามารถต่อยอดพัฒนาไปเป็นอาหารเสริมสุขภาพและเครื่องสำอางได้ด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ  กล่าวอีกว่า ทีมนักวิจัยได้ทำการวิจัยชิ้นนี้มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 ปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถยกระดับการผลิตน้ำมันปาล์มดิบจากเกรดอาหารสัตว์ซึ่งมีค่า โดบี้ต่ำกว่า 1 มีปริมาณกรดไขมันอิสระสูงกว่า

ม.วลัยลักษณ์ วิจัยยกระดับน้ำมันปาล์มดิบ จากเกรดอาหารสัตว์เป็นเกรดเวชสำอาง Read More »

Rubber-Based Training Handgun

Research Name : Rubber-Based Training Handgun ชื่องานวิจัย : ปืนยางสำหรับการฝึกอบรมและปฏิบัติ Background and importance : Nowadays, an increasing number of trainees each year cause a number of training handguns insufficient. Therefore, the training handgun made from wood or resin can solve such insufficiency. However, the handguns made form such materials cause disadvantages in terms of shape and

Rubber-Based Training Handgun Read More »

นักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2563

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2563 ทั้ง 3 ประเภท ประเภทที่ 1 High quality publication (Q1) จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลนานาชาติ Q1   ประเภทที่ 2 Research productivity (Scopus/ISI)   ประเภทที่ 3 International collaboration Q1 และ Q2

นักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2563 Read More »

Crab Bank: Social engagement project for the blue swimming crab restoration that links to international standard

Marine fishes and shellfishes are the important sources of protein and income, through fisheries, for number of people in Thailand, in particular those whom live along the coastlines. It is recognized that, nowadays, the marine fishery resources especially the Blue swimming crab (BSC) have become depleted due to high fishing pressure. The BSC is one

Crab Bank: Social engagement project for the blue swimming crab restoration that links to international standard Read More »

ผศ.ดร.กิตติพงค์ คุณจริยกุล : การนำของเสียมาใช้ในคอนกรีตหรือซีเมนต์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติพงค์ คุณจริยกุล อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งสนใจทำวิจัยเกี่ยวกับการนำของเสียมาใช้ในคอนกรีตหรือซีเมนต์ การจัดการของเสีย คุณลักษณะทางกลและระดับจุลภาคของซีเมนต์ และคอนกรีต  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติพงค์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยได้ทำวิจัยหัวข้อ “การนำของเสียที่มีอลูมิเนียมปนเปื้อนและนำแกลบมาใช้ในการผลิตคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำ” จากนั้น ได้ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ในปี พ.ศ. 2559  เมื่อถามถึงแรงจูงใจในการทำวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติพงค์ เล่าว่า ที่ผ่านมาได้เห็นมนุษย์ก่อของเสียให้เกิดขึ้นจำนวนมากมาย เกิดเป็นมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จากเหตุผลนี้เอง จึงทำให้มีแนวคิดในการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เป็นประโยชน์ ซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการนำของเสียมาใช้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนั่นคือ “วัสดุก่อสร้าง” ประกอบกับมีความชอบที่จะเห็นการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเหตุผลให้มีแนวคิดในการพัฒนาของเสียต่างๆ ให้สามารถมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมใหม่ของวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งยังพัฒนาวัสดุก่อสร้างให้มีความสามารถที่มากกว่าเดิม เช่น กำลังอัด การเป็นฉนวนกันความร้อน การใช้พลังงานในการผลิตลดลง

ผศ.ดร.กิตติพงค์ คุณจริยกุล : การนำของเสียมาใช้ในคอนกรีตหรือซีเมนต์ Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี วิทยพันธ์ : การปฏิบัติงานสาธารณสุข/ดูแลสุขภาพชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี วิทยพันธ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งสร้าง “การเชื่อมโยงระหว่างวิจัย ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อประกันว่าบริการสาธารณสุข/การดูแลสุขภาพชุมชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เหมาะสม และไม่เป็นอันตราย” โดยนำแนวคิด “การปฏิบัติงานสาธารณสุขโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน” มาใช้  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต(การพยาบาลสาธารณสุข) (นานาชาติ) จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยในปี พ.ศ.2555 ได้มาปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ (ขณะนั้น) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำหน้าที่อาจารย์สอนในหลักสูตรกายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยฯ เป็นประธานสาขาสาธารณสุขศาสตร์ และรองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2560 ถึง 1 เมษายน 2562  ก่อนหน้าที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี จะมาปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เคยเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่ University of North

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี วิทยพันธ์ : การปฏิบัติงานสาธารณสุข/ดูแลสุขภาพชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน Read More »

รศ.ดร. สมชาย สวัสดี : เชี่ยวชาญกระบวนการผลิตยา เน้นยาแอโรโซลและยารูปแบบของแข็ง

รองศาสตราจารย์ ดร. สมชาย สวัสดี อาจารย์ประจำสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เชี่ยวชาญกระบวนการผลิตยาทุกรูปแบบ (Dosage forms) โดยเน้นยาแอโรโซล และยารูปแบบของแข็ง เช่น ยาผงแห้ง ยาเม็ด เทคโนโลยีของสารเคลือบฟิล์ม ปัจจุบันมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบยาดังกล่าวมากกว่า 10 เรื่อง  รองศาสตราจารย์ ดร. สมชาย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2546 จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาเภสัชศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน เคยทำงานเป็นเภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนาของโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน รับผิดชอบในการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลากหลายประเภทจนสามารถขึ้นทะเบียนและวางจำหน่ายทั่วไปได้  ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ มูลค่าตลาดยาในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ส่วนยาที่ผลิตได้ภายในประเทศจะมีราคาไม่สูงมากนัก เพราะเน้นการผลิตยาชื่อสามัญ (Generic drug) เนื่องจากประเทศไทยขาดงานวิจัยเพื่อพัฒนายาต้นแบบ (Original drugs) ซึ่งเป็นยาที่มีราคาสูงและอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการวิจัยและการผลิตยา ดังนั้น หากมีนักวิจัยที่ร่วมกันวิจัยพัฒนายาใหม่ จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้ามากขึ้น ในฐานะที่ รองศาสตราจารย์

รศ.ดร. สมชาย สวัสดี : เชี่ยวชาญกระบวนการผลิตยา เน้นยาแอโรโซลและยารูปแบบของแข็ง Read More »

อ.นพ.ลั่นหล้า อุดมเวช : จักษุแพทย์ อาจารย์ และนักวิจัย บทบาทอันแตกต่างแต่ลงตัว

อาจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า อุดมเวช อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และจักษุแพทย์ประจำศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา สอนนักศึกษาแพทย์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความผิดปกติของตาและการมองเห็น ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย  อาจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า สำเร็จการศึกษา พ.บ. (เกียรตินิยม) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ป. บัณฑิต ชั้นสูง วิทยาศาสตร์การแพทย์ (จักษุวิทยา) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ว.ว. จักษุวิทยา ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และวุฒิบัตร Fellowship of International Council of Ophthalmology (องค์กรระหว่างประเทศ)  นอกจากบทบาทของอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกแล้ว และอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความผิดปกติของตาและการมองเห็น ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยแล้ว ยังทำหน้าที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาประจำคลินิกจักษุ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และให้บริการวิชาการ ตรวจโรคตาและผ่าตัดตา ที่โรงพยาบาลสิชล อีกด้วย  อาจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า เล่าว่า ในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคใต้ ยังขาดแคลนจักษุแพทย์ ประกอบกับการเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ทำให้มีผู้ป่วยในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียงเข้ามารับบริการที่ศูนย์การแพทย์ฯ จำนวนมาก ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีโรคตา อาทิ ต้อกระจก ต้อหิน

อ.นพ.ลั่นหล้า อุดมเวช : จักษุแพทย์ อาจารย์ และนักวิจัย บทบาทอันแตกต่างแต่ลงตัว Read More »

รศ.ดร.วรวรรณ พันพิพัฒน์ : การทำวิจัยให้มากกว่าเรื่องวิชาการ

รองศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ พันพิพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและนวัตกรรม สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับงานวิจัยในฐานะหัวหน้าโครงการกว่า 15 โครงการ และผู้ร่วมวิจัย 12 โครงการ ไม่นับรวมบทความวิจัยและบทความวิชาการ ตำรา และ Proceeding กว่า 100 เรื่อง ทำให้ตกผลึกทางความคิดที่ว่า “การทำวิจัยให้มากกว่าเรื่องวิชาการ”  รองศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากสาขาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี เน้นการวิจัยด้านโปรตีนในอาหาร และในปี 2548 ได้ทำงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเวลา 5 ปี ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ จากนั้นในปี 2553 ได้รับทุนการศึกษาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยออฮุส (Aarhus University) ประเทศเดนมาร์ก โดยเน้นการศึกษาวิจัยด้านไขมันในอาหาร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนความเชี่ยวชาญจากการทำวิจัยในระดับปริญญาโทและงานวิจัยที่ทำอยู่ในช่วงปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เนื่องจากมองเห็นว่า พื้นที่ภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่มีวัตถุดิบน้ำมันและไขมันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับประเทศไทยมีนักวิจัยที่ทำงานด้านไขมันในอาหารจำนวนน้อย จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศ  ในระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอกนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ ได้รับโอกาสให้ไปฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีนาโน (Nanotechnology)

รศ.ดร.วรวรรณ พันพิพัฒน์ : การทำวิจัยให้มากกว่าเรื่องวิชาการ Read More »