ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เผยแพร่งานวิจัยนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus ผ่านหลัก 900 เรื่อง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เผยแพร่งานวิจัยนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus ผ่านหลัก 900 เรื่อง เมื่อเดือนมิถุนายน สิ้นสุดลง จำนวนบทความวิจัยในฐานข้อมูล Scopus ที่มีอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นผู้ประพันธ์ (Author) ได้รวมกันเป็นจำนวนเกิน 900 เรื่อง เป็นมหาวิทยาลัยที่ 22 ของประเทศไทยที่ทำได้ โดยมหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมดมีอายุมากกว่า 25 ปี และจำนวนอาจารย์เกิน 500 อัตรา

ฐานข้อมูล Scopus (www.scopus.com) เป็นแหล่งรวบรวมผลงานวิชาการที่สำคัญของโลก โดยครอบคลุมวารสารที่มีมาตรฐานทุกศาสตร์สาขาวิชา มากกว่า 30,000 วารสาร ให้สามารถสืบค้น อ้างอิง ประยุกต์ใช้ต่อยอด อีกทั้ง เป็นดัชนีในการวัดความก้าวหน้าของนักวิชาการ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย และการประเมินความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  • อาจารย์ที่มีผลงานสูงสุดในฐานข้อมูล Scopus (www.scopus.com) ในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. รศ.ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 76 บทความ
2. ผศ.ดร.พิมผกา ฮาร์ดิง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 49 บทความ
3. รศ.ดร.เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 47 บทความ
4. รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 38 บทความ
5. รศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 37 บทความ
6. รศ.ดร.นฤมล มาแทน สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 31 บทความ
7. รศ.ดร.มนัส ชัยจันทร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 29 บทความ
8. รศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 21 บทความ
9. ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 21 บทความ
10. รศ.ดร.สรศักดิ์ ด่านวรพงศ์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 บทความ
* รศ ดร ก้าน จันทร์พรหมมา อดีตอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 42 บทความ ปัจจุบันเป็น ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ตัวเลขแสดงถึงจำนวนบทความที่ตีพิมพ์เท่านั้น ไม่ครอบคลุมเปอร์เซ็นต์การมีส่วนร่วม และค่า SJR ที่แสดงคุณภาพวารสาร

  • อาจารย์ที่มีผลงานสูงสุดในฐานข้อมูล Scopus (www.scopus.com) ในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ

1. ผศ.ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ จำนวน 19 บทความ
2. ดร. เพ็ญโฉม จันทร์หวาน สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จำนวน 16 บทความ
3. รศ.ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จำนวน 15 บทความ
4. ผศ.ดร. มนัส โคตรพุ้ย สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จำนวน 13 บทความ
5. ผศ.ดร.วรางคณา จุ้งลก สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จำนวน 12 บทความ
6. ผศ.ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ จำนวน 11 บทความ
7. รศ.ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จำนวน 10 บทความ
8. รศ.วิทยา อานามนารถ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จำนวน 9 บทความ
9. ผศ.ดร.สมชาย สวัสดี สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ จำนวน 9 บทความ
10. ผศ.ดร.นมนต์ หิรัญ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์  จำนวน 8 บทความ

ตัวเลขแสดงถึงจำนวนบทความที่ตีพิมพ์เท่านั้น ไม่ครอบคลุมเปอร์เซ็นต์การมีส่วนร่วม และค่า SJR ที่แสดงคุณภาพวารสาร

  • อาจารย์ที่มีค่า H-index สูงสุดในฐานข้อมูล Scopus (www.scopus.com) ในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  1. ค่า H-index สูงสุด คือ 10 มี 4 ท่านได้แก่ รศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์  รศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี  รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี และ รศ.ดร.เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง
  2. ค่า H-index 9 มี 3 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร.นฤมล มาแทน รศ.ดร.มนัส ชัยจันทร์ และ ผศ.ดร.พิมผกา ฮาร์ดิง

ค่า H-index เป็นค่าที่ครอบคลุมถึงคุณภาพของบทความ การมีค่า H-index 10 หมายถึง มีผลงาน 10 เรื่อง ที่ได้รับการอ้างถึง (citation) ตั้งแต่ 10 ครั้งขึ้นไป

  • จำนวนผลงานในฐานข้อมูล Scopus (www.scopus.com) สะสมสิ้นสุด เดือนมิถุนายน 2560 ของมหาวิทยาลัย ที่เกิน 900 บทความ (ตัวเลขแสดงถึง Academic contribution ในระดับนานาชาติเท่านั้น ไม่ครอบคลุมคุณค่าและงานสร้างสรรค์ที่แตกต่างหลากหลายอื่นๆ ที่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัย)
  1. มหาวิทยาลัยมหิดล 28,233 บทความ
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25,366 บทความ
  3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13,852 บทความ
  4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 10,290 บทความ
  5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9,915 บทความ
  6. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9,501 บทความ
  7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 7,196 บทความ
  8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี 7,091 บทความ
  9. Asian Institute of Technology 6,023 บทความ
  10. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5,838 บทความ
  11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3,738 บทความ
  12. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ 2,858 บทความ
  13. มหาวิทยาลัยนเรศวร 2,823 บทความ
  14. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2,473 บทความ
  15. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2,255 บทความ
  16. มหาวิทยาลัยศิลปากร 2,200 บทความ
  17. มหาวิทยาลัยบูรพา 1,628 บทความ
  18. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1,385 บทความ
  19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 1,174 บทความ
  20. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 1,104 บทความ
  21. มหาวิทยาลัยรังสิต 1,086 บทความ
  22. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 907 บทความ

ข่าวโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม