ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

สถาบันวิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมรายงานความก้าวหน้า “การสร้างความมั่นคงด้านอาชีพในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช”

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี วิทยพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ การสร้างความมั่นคงด้านอาชีพในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษา วช.ภูมิภาค (ภาคใต้) อาจารย์สุปราณี จงดีไพศาล ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พันเอก นายแพทย์วิเชียร ชูเสมอ นายศุภชัย อักษรวงศ์ นักวิชาการอิสระ ตลอดจนชุมชนในพื้นที่ที่นักวิจัยร่วมดำเนินงานวิจัย ภาคส่วนราชการ นักวิชาการ ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

พร้อมกันนี้มีโครงการวิจัยที่ได้รับทุนเข้าร่วมการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าในครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น  11 โครงการ ได้แก่

  1. ผลกระทบของการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต่อความมั่นคงทางอาชีพของเกษตรกรในชุมชน : ศึกษากรณีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง  ผู้รับทุน อาจารย์ทวีพร คงแก้ว สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  2. การจัดการศัตรูพืชในสวนส้มโอทับทิมสยาม จังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยวิธีชีวภาพ ผู้รับทุน รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  3. การพัฒนาโซ่คุณค่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ผู้รับทุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุณฑรี จันทร์กลับ สำนักวิชาการจัดการ
  4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมอลต์สกัดจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองนครศรีธรรมราช ผู้รับทุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ พันพิพัฒน์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  5. การเปรียบเทียบต้นทุน ผลตอบแทน และความเสี่ยงของการปลูกพืชผักแบบทั่วไปกับการปลูกแบบรวมกลุ่ม เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาชีพของเกษตรกรในตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้รับทุน อาจารย์นลินี ทินนาม สำนักวิชาการจัดการ
  6. คุณค่าทางโภชนาการและการป้องกันการตกผลึกของน้ำตาลในระหว่างการเก็บรักษาน้ำผึ้งจาก ผู้รับทุน รองศาสตราจารย์ ดร.มนัส ชัยจันทร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  7. ฤทธิ์ยับยั้งการย่อยและการดูดซึมไขมันของน้ำส้มจากอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ผู้รับทุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา กวานเหียน สำนักวิชาสหเวชศาสตร์
  8. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ป่าจาก ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้รับทุน อาจารย์จันทิรา รัตนรัตน์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร
  9. พัฒนาผลิตภัณฑ์ จาก “ต้นจาก” สู่การสร้างอัตลักษณ์สินค้าของที่ระลึกชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้รับทุน อาจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี  สำนักวิชาการจัดการ
  10. การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้รับทุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม สำนักวิชาการจัดการ
  11. การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมริมแม่น้ำปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้รับทุน อาจารย์ธนาภา ช่วยแก้ว สำนักวิชาการจัดการ

ประมวลภาพ