KM of Women in the South
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งยังมีความขาดแคลนองค์ความรู้ที่ในด้านนี้อยู่ และยังไม่มีหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการความรู้ความเข้า การศึกษาวิจัยทางด้านนี้อย่างจริงจังมาก่อน ดังนั้นจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นความมั่นคงทางสังคม แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ และเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านผู้หญิงของภาคใต้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) จึงได้ดำเนินโครงการทบทวนสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงที่ได้มีการศึกษากันมาตั้งแต่อดีต นำไปสู่การนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านเพศสภาพ บทบาทของผู้หญิง และความยุติธรรมทางสังคมหลากมิติผ่านศาสตร์ด้านวัฒนธรรมศึกษา ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ นำเสนอแนวทางการเชื่อมต่องานบริการวิชาการและการวิจัยด้านสิทธิสตรีและความยุติธรรมทางสังคมให้กับชุมชน

Women and Problem in Southern Border Provinces of Thailand

Affectation 9 Topic
1. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของหญิงม่ายที่สามีเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาหญิงม่ายที่อยู่ในศูนย์รอตันบาตู จังหวัดนราธิวาส
2. วันนี้ของผู้หญิงมลายูมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จาก หัวข้อ “ชีวิตผู้หญิงมลายูมุสลิม ” มายาคติและความเป็นจริง
3. ประสบการณ์ของผู้หญิงที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บ จากสถานการณ์ความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
4. การปฏิบัติของพยาบาลเพื่อช่วยเหลือบุคคลในช่วงวิกฤตการณ์ทางอารมณ์จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
5. ประสบการณ์ทางจิตใจของหญิงหม้ายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้
6. ฝนกลางไฟ พลังชีวิต พลังใจ ห้าสิบเสียงจากหญิงชายแดนใต้
7. เสียงเงียบจากชายแดนใต้…เมื่อผู้หญิงถูกทำร้ายจากความรุนแรง
8. วานีตา ผู้หญิงกลิ้งโลก
9. ผู้หญิงชายแดนใต้ : ม่านมายาและการฝ่าผ่าน