งานวิจัยเชิงพื้นที่ Area Based research เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการขับเคลื่อนในพื้นที่ ไปสู่การพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนานักวิจัยในระดับกลาง (นักวิจัยในมหาวิทยาลัย) ที่ต้องอาศัยการเชื่อมร้อยงานที่เป็นข้อมูลองค์ความรู้ไปสู่หัวรถจักรในการพัฒนา
- พื้นที่ หมายถึงพื้นที่ระดับจังหวัด เนื่องจากจังหวัดมีภารกิจ มีหน่วยกำกับ มีงบประมาณ ที่ชัดเจน และสามารถบูรณาการได้อย่างแท้จริง
- โจทย์วิจัยที่เป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบต่อคนจังหวัด
- กลไกของจังหวัดเป็นผู้ร่วมกำหนดโจทย์
- การทำงานบนฐานความรู้และข้อมูล และข้อเท็จจริง
กรอบพื้นที่ 3 พื้นที่ได้แก่
- กรณีเมืองหนองจิก
1) การสร้างกลไกและพัฒนารูปแบบของเกษตกรรมให้มีความยั่งยืนตามศักยภาพและบริบทของพื้นที่เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก
2) การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนโยบายภาครัฐแบบยั่งยืน (ปาล์มและประมง)
3) การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้าน
4)รูปแบบการจัดการปศุสัตว์แบบผสมผสาน - กรณีเมืองสุไหง โก-ลก
1) การพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวก ในการทำธุรกิจชายแดน
2) รูปแบบการพัฒนาเมืองปลอดภาษี
3) ระบบ Supply chain และช่องทางตลาดสินค้าเกษตร
4) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและแรงงานข้ามแดน
5) รูปแบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายพื้นที่ - เบตง
1) การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการตัวเองแบบครบวงจรและทันสมัย โดยคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ที่สามารถรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
2) การสร้างรูปแบบการเกษตรเป้าหมาย (ไก่เบตง และพืชสำคัญ) และการสร้างความมั่นคงทางพลังงงานและความมั่นคงทางอาหารเพื่อรองรับการขยายพื้นที่การพัฒนาการคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศ
เงื่อนไขการส่งข้อเสนอเชิงหลักการ
– ต้องอยู่ในกรอบแนวคิดการทำงานแบบวิจัยเชิงพื้นที่
– เสนอเป็นชุดโครงการ โดยชุดโครงการต้องไม่ซ้ำซ้อนกับที่อื่นๆ หรือหากส่งที่อื่นขอให้แจ้ง สกว.ทราบ
– สนับสนุนบุคลากรทุกประเภท แยกให้ออกระหว่าง งานวิจัย กับงานพัฒนา
– ไม่ติดค้างงาน กับ สกว.
– กรอบงบประมาณ สำหรับชุดโครงการวิจัย 5,000,000 บาท
– สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับนักวิจัยต่างสถาบันได้
ส่วนประกอบของข้อเสนอเชิงหลักการ
1.ชื่อโครงการ
2.ชื่อหัวหน้าโครงการและนักวิจัย
3.สถานที่ติดต่อ เบอร์โทร อีเมลล์
4.ที่มาและความสำคัญ ประกอบด้วย ข้อวิเคราะห์โจทย์ปัญหาความต้องการของพื้นที่ (Situation review) และทุนเดิมของคณะผู้วิจัยในการทำงานกับพื้นที่
5.วัตถุประสงค์
6.แนวคิด ระเบียบวิธีวิจัย แนวทางการดำเนินงาน
7.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
8.งบประมาณ
9.ประวัติคณะนักวิจัย
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียด ได้ที่ คุณเบญญาภา มารินทร์ E-mail : benyapa@trf.or.th เบอร์โทร 02-278-8237
สำหรับนักวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวสุจินดา ย่องจีน เบอร์โทรภายใน 3567