การใช้ Generative AI ช่วยพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัยส่งวารสารในฐานข้อมูล Scopus ใน 30 ชั่วโมง

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ Generative AI ช่วยพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัยส่งวารสารในฐานข้อมูล Scopus ใน 30 ชั่วโมง

เมื่อวันที่ 9-10 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ในการวิจัย ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ Generative AI ช่วยพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัยส่งวารสารในฐานข้อมูล Scopus ใน 30 ชั่วโมง ณ Seava Beach โดยมี รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รองอธิการบดี ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน

กิจกรรมภายในโครงการ ประกอบด้วย 🔥
🔖การบรรยายแนวคิดของ Generative AI การใช้งาน ChatGPT และ AI Chatbots รวมทั้งข้อควรคำนึงด้านจริยธรรมในการใช้ AI ช่วยพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัย
🔖การฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้ ChatGPT เป็นผู้ช่วยในการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย Prompt Engineering สำหรับการพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัย การพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัยร่วมกับ ChatGPT
🔖 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้ ChatGPT และ Perplexity ช่วยในการปรับปรุงต้นฉบับบทความวิจัย
🔖 การเลือกวารสาร Q1 เพื่อตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus
🔖 ผู้เข้าร่วมอบรมปรับแก้ต้นฉบับบทความวิจัย โดยใช้ ChatGPT และเครื่องมือ AI อื่นๆ
🔖 Submit บทความในฐานข้อมูล Scopus

โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี และ รศ.ดร.วิชิตพันธุ์ รองวงศ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ เป็นวิทยากร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 29 คน จาก 13 สำนักวิชา และ 1 วิทยาลัย