Outstanding Research

ดร.นมนต์ หิรัญ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์

ดร.นมนต์ หิรัญ อาจารย์ประจำสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำการวิจัยและการเรียนการสอนมาเชื่อมโยงเพื่อเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งบางครั้งคำถามของนักศึกษาทำให้ได้เรียนรู้และได้แง่มุมใหม่จากการถามคำถาม จึงเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกันมากกว่าที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดพียงฝ่ายเดียว ดร.นมนต์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรตินิยม อันดับ 1 และรางวัลนักศึกษาที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมในสาขาเภสัชกรรมปฏิบัติ จากนั้น ได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกคณะเดียวกันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษา เมื่อปี 2556 ได้รางวัลวิทยานิพนธ์ชมเชย ระดับปริญญาเอก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาคุณลักษณะเจลของ Tamarind Seed Xyloglucan เมื่อมี Gallic Acid และ Eriochrome Black T ขณะที่ศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่นั้น ได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.วิมล ตันติไชยากุล ศึกษาเรื่องการผลิตพอลิแซคคาไรด์จากเมล็ดมะขาม โดยการใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์การจัดเรียงตัวของโมเลกุลของพอลิแซคคาไรด์ดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับระบบนำส่งยารักษาโรค ซึ่ง ดร.นมนต์ ได้เล่าถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า พอลิแซคคาไรด์จากเมล็ดมะขามประกอบด้วยโมเลกุลที่เป็นรูปทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4-0.9 นาโนเมตร […]

ดร.นมนต์ หิรัญ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นคร กกแก้ว สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นคร กกแก้ว อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เน้นทำวิจัยด้านที่เชี่ยวชาญและประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานกับโจทย์วิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ส่วนด้านการสอนก็สมมติตนเองว่า เป็นนักศึกษา เพื่อที่จะได้เข้าใจว่า ต้องอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาสาระสำคัญของวิชานั้นๆ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นคร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนยโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในระดับปริญญาโท เน้นบริหารการก่อสร้าง (Construction Engineering and Management) จากนั้น ได้บรรจุเข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมโยธา ที่ Columbia University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยศึกษาด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Risk Analysis) หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาเอกและกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มต้นทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ ดร. สมจินตนา คุ้มภัย อาจารย์สำนักวิชาการจัดการ โดยเป็นงานวิจัยที่ใช้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการก่อสร้าง ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นคร ได้ทำงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยถือว่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นคร กกแก้ว สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร ดิเรกบุษราคม สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร ดิเรกบุษราคม อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และหัวหน้าศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านกุ้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งมั่นกับงานสอนจนได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “อาจารย์ดีเด่นด้านการเป็นครู” ขณะเดียวกันก็สนใจศึกษาวิจัยและเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ โดยเฉพาะโรคกุ้งและการเลี้ยงกุ้ง รวมทั้งการใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการควบคุมโรคสัตว์น้ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร เป็นชาวกรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาประมง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขา Fisheries Sciences จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นทำงานในตำแหน่งนักวิชาการประมง สังกัดสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ กรมประมง แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยด้านสัตว์น้ำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน ในปี พ.ศ. 2542 จึงได้มาเป็นอาจารย์สอนทางด้านประมง สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสอน เอกสารและสื่อประกอบการสอน ที่สำคัญใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการติดตามผลการเรียนของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง อบรมสั่งสอนนักศึกษาให้มีกำลังใจด้านการเรียน การพัฒนาตนเองให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง เช่น จัดหารุ่นพี่ที่มีผลการเรียนดีมาสอนนักศึกษารุ่นน้องที่มีปัญหา ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจและมีผลการเรียนดีขึ้นตามลำดับ มีการนำผลงานวิจัยและการบริการวิชาการมาใช้ประกอบการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังสอนให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ และได้สอดแทรกข้อคิดต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีคุณธรรมและจริยธรรม พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและแนะนำ กรณีนักศึกษามีปัญหาส่วนตัวก็พร้อมให้คำปรึกษา ชี้แนะ จนสามารถแก้ปัญหานั้นๆ ให้ลุล่วงไปได้ ส่วนนักศึกษาที่มีศักยภาพก็ได้ประสานและจัดหาทุนเรียนต่อและทุนการวิจัยทางด้านการเกษตรในประเทศญี่ปุ่นให้อีกด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร ดิเรกบุษราคม สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร Read More »

นายไพรวัลย์ เกิดทองมี ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไพรวัลย์ เกิดทองมี นักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งมั่นพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการและงานวิจัย โดยใช้เวลาว่างจากงานประจำไปเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับคณาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อวิจัยเชิงพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ และสามารถใช้งานได้จริง ไพรวัลย์ เกิดทองมี เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ (มหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบัน) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ – ฟิสิกส์) และจบการศึกษาระดับ ปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ จาก ม.วลัยลักษณ์ ไพรวัลย์ได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยอยู่ในระยะเตรียมการเพื่อเปิดรับนักศึกษาเป็นปีแรก โดยไพรวัลย์ได้เข้าไปมีบทบาทในการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเรียนการสอนในสาขาวิชาฟิสิกส์ เช่น ผลิตชุดทดลองสำหรับการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ 1 เรื่อง การกำทอนในท่ออากาศ 8 ชุด และเรื่องการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ จากการที่ได้มาทำงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทำให้ได้มีโอกาสพบกับคณาจารย์ นักวิจัย ที่มีความรู้ความสามารถมากมายในวงการวิชาการทางฟิสิกส์ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความรู้ทั้งด้านวิชาการและงานวิจัย โดยเอาเวลาว่างจากการทำงานประจำไปเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับคณาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ เพื่อวิจัยเชิงพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ และสามารถใช้งานได้จริง

นายไพรวัลย์ เกิดทองมี ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Read More »

อ.ดร.อุดมรัตน์ วัฒนสิทธิ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์

อ.ดร.อุดมรัตน์ วัฒนสิทธิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มุ่งเน้นสนองพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม อ.ดร.อุดมรัตน์ มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่วัยเด็ก โดยหลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนารีวิทยา จังหวัดราชบุรี ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาเคมี เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2545 ได้เข้าทำงานในบริษัทเอกชน ในตำแหน่งนักเคมีเป็นเวลา 1 ปี ก่อนจะได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยา และการบริหารจัดการสารเคมี (The Center of Excellence on Environmental Health, Toxicology and Management of Chemicals; ETM) ซึ่งเป็นศูนย์ระดับชาติ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบและการกำกับดูแลของ สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ สาขาวิชา “พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม” ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian

อ.ดร.อุดมรัตน์ วัฒนสิทธิ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ Read More »

ผศ.ดร.วรางคณา จุ้งลก สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จุ้งลก อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งมั่นศึกษาโรคมะเร็งช่องปากตั้งแต่ศึกษาในระดับปริญญาเอกจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาปัจจัยและกลไกที่เซลล์ปกติของมนุษย์เปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็ง การสร้างและพัฒนาโมเดลของเซลล์มะเร็งและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชและสมุนไพรที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง รวมถึงกลไกการยับยั้งเซลล์มะเร็ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จุ้งลก ศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบูรณะรำลึก จังหวัดตรัง ขณะที่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้สอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ และสามารถสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีการศึกษา 2539 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 และในปีการศึกษา 2543 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่คณะและมหาวิทยาลัยเดิม โดยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และทุน Deutscher Academischer Austausch Dienst (DAAD) จากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ขณะที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว ในปี 2548 ได้มาเป็นอาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขณะที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอกนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา สนใจศึกษาเรื่องโรคมะเร็งโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยและกลไกที่เซลล์ปกติสามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็งช่องปากจาก การติดเชื้อ Human papillomavirus (HPV) ร่วมกับแอลกอฮอล์ โดยได้ทำวิจัยเรื่อง “Increased

ผศ.ดร.วรางคณา จุ้งลก สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ Read More »

ผศ.ดร.จรวย สุวรรณบำรุง สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุวรรณบำรุง อาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างสมรรถนะชุมชนในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน โดยสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชนต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะเป็นผู้ที่มีผลงานในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม จนได้รับมอบใบประกาศเกียรติคุณในโครงการ “วิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2556” คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรวย เป็นคนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เริ่มเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนประจำตำบลบ้านสะพานไม้แก่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนจะนะวิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวรนารีเฉลิม และจบการศึกษาปริญญาตรีด้านการพยาบาลจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนีสงขลา ซึ่งขณะนั้นมีชื่อว่า วิทยาลัยพยาบาลภาคใต้ ซึ่งเป็นวิทยาลัยพยาบาลแห่งเดียวของภาคใต้ เมื่อจบการศึกษาปี 2531 ปฏิบัติงานในฐานะพยาบาลวิชาชีพ ณ หอผู้ป่วยเด็ก แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสงขลา และศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาการพยาบาลบิดา มารดา และเด็ก ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในขณะทำงานได้พัฒนางานด้านคุณภาพการพยาบาล งานคุณภาพของโรงพยาบาล ทำหน้าที่ผู้ประสานงานการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล พัฒนางานวิจัยในคลินิก การสอนการพยาบาลในคลินิกแก่นักศึกษาพยาบาลและสอนบรรยายเกี่ยวกับการพยาบาลเด็ก รวมเวลาในการทำงานด้านพยาบาลวิชาชีพ 15 ปี และได้รับวุฒิบัตรพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเด็กจากสภาพยาบาล ในปี 2546

ผศ.ดร.จรวย สุวรรณบำรุง สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ Read More »

รศ. ดร.มนัส ชัยจันทร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

รองศาสตราจารย์ ดร.มนัส ชัยจันทร์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) เน้นการทำวิจัยทั้งประเภทงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนและภาคอุตสาหกรรม โดยผลงานได้รับการตีพิมพ์ระดับนานาชาติและระดับชาติ จำนวน 20 เรื่อง และนำเสนอในที่ประชุมวิชาการจำนวน 42 เรื่อง รองศาสตราจารย์ ดร.มนัส ชัยจันทร์ เป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถพิเศษทางวิชาการ (สพพ.) เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อปีการศึกษา 2541 ซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย หลังจากสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ในปี พศ. 2545 รองศาสตราจารย์ ดร.มนัส ได้รับทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาเทคโนโลยีอาหาร จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้ไปทำวิจัย ณ University of Connecticut ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลงานวิทยานิพนธ์หัวเรื่อง Characterization of Muscle Proteins and Interaction between

รศ. ดร.มนัส ชัยจันทร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร Read More »

รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นักวิชาการและนักวิจัยที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนางานวิจัยทางด้าน Ecoinformatics และ ด้าน Coral Sensor Network ของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการติดตามและอนุรักษ์ปะการังอย่างยั่งยืนแบบรู้จริง รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะเดช เป็นคนกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยา กรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสาขาฟิสิกส์ จึงได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง โดยได้รับทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ได้ศึกษาระดับปริญญาเอกที่ Warwick University ประเทศอังกฤษ ทางด้านฟิสิกส์ ด้านฟิสิกส์ไม่เชิงเส้นและทฤษฎีเคออส ได้รับทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และรางวัลจาก มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สอนวิชาทางด้านฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะทำงานวิจัยทางด้าน Ecoinformatics ตั้งแต่ยอดเขา (ป่าเมฆ) จนถึงใต้ทะเล แนวปะการัง โดยได้ทุ่มเทเวลาให้กับงานสอนและงานวิจัย ทั้งในฐานะอาจารย์ทางด้านฟิสิกส์และผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มีงานวิจัยกว่า 59

รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ Read More »

รองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นักวิจัยที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนางานวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาของประเทศไทยตลอด 15 ปี ของการทำงาน ด้วยรางวัลที่ยืนยันความสามารถและความมุ่งมั่นของเธอถึง 3 รางวัล กับอีก 1 รางวัล อันทรงคุณค่าในฐานะครูดีเด่นด้านการวิจัย เข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี รองศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา เป็นคนจังหวัดตรัง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง และได้รับทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) ต่อเนื่องจบจากการศึกษาระดับปริญญาเอก โดยศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา และด้วยความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสาขาชีววิทยา จึงได้เข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากนั้นได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอกที่ University of California Santa Barbara ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้าน Ecology, Evolution and Marine Biology และได้รับทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) หลังจากที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี

รองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ Read More »