ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

Outstanding Research

Vision

Main Purposes: 1. To become a leading research university, where new knowledge is created, among the top research universities in the world. 2. To become a research university, solving problems and responding to the needs of local communities in upper Southern Region. Vision “3 L”: Institute of Research and Innovation at Walailak University will be

Vision Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา สมุหเสนีโต : องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานการพัฒนางานวิจัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา สมุหเสนีโต อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนใจศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกของโปรตีน Sphingosine kinase 1 (SphK1) และ Sphingosine 1 phosphate receptor 4 (S1PR4) ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเชื่อว่า องค์ความรู้ด้านกลไกการเจริญของเซลล์มะเร็งเป็นพื้นฐานในการพัฒนายารักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสตรีพัทลุง จ.พัทลุง และได้รับทุนการศึกษาในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ระหว่างที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา ได้ทำโครงงานวิจัย (Research Project) เกี่ยวกับฤทธิ์ของสารสกัดจากต้นบอระเพ็ดต่อการทำงานของหัวใจในหนูแร็ท ซึ่งจากการทำโครงงานวิจัยนี้ ทำให้ค้นพบตนเองว่า มีความชอบในสาขาวิชาสรีรวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จึงได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก สาขาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้น ได้มาเป็นอาจารย์ ที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา สมุหเสนีโต : องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานการพัฒนางานวิจัย Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ เฉียบแหลม : สนใจวิจัยเชิงพื้นที่ด้านการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ เฉียบแหลม อาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ สำนักวิชาการจัดการ สนใจศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรด้านท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับชุมชน และชุมชนเป็นผู้รับผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง รวมทั้งพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่นักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยพื้นฐานการเรียนรู้ และการปลูกฝังเกี่ยวกับทรัพยากรที่นับวันจะถูกทำลายทั้งทางธรรมชาติและมนุษย์ จึงได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาอุทยานและนันทนาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้น ในปี พ.ศ. 2548 จึงได้มาปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ สำนักวิชาการจัดการ โดยเน้นทางด้านการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว และในปี พ.ศ. 2552 ได้ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในสาขา Natural Resources Management ที่ Asian Institute of Technology (AIT) โดยมีความสนใจทำวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเฉพาะผลกระทบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวทางทะเลเช่น การเกิดปะการังฟอกขาว และผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งถือว่า เป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยและทั่วโลก กำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ ได้เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ เฉียบแหลม : สนใจวิจัยเชิงพื้นที่ด้านการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา กวานเหียน : เน้นวิจัยเชิงพื้นที่ ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา กวานเหียน เน้นวิจัยเชิงพื้นที่ ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล” โดยใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สามารถเป็นหลักในถิ่น และเผยแพร่งานวิจัยไปสู่ระดับนานาชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ และหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และหัวหน้าคลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท วทม.(จุลชีววิทยาทางการแพทย์) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้ทำงานเป็นนักเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศ จังหวัดนนทบุรี ต่อมาได้รับราชการเป็นนักเทคนิคการแพทย์ ประจำโรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง จากนั้น ได้มาเป็นอาจารย์หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในปี 2547 (ขณะนั้นยังไม่แยกเป็นสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์) ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักเทคนิคการแพทย์ ที่สำคัญมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานในสถาบันการศึกษาแห่งแรกในภาคใต้ที่เปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ต่อมาใน ปี 2550 ได้รับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แบบ Sandwich Program ศึกษาต่อด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้มีโอกาสไปทำการศึกษาวิจัยที่ Saarland University เมือง Homburg รัฐ Saarland ประเทศเยอรมันในระหว่างการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา กวานเหียน : เน้นวิจัยเชิงพื้นที่ ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล” Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดุษฎี ชินนาพันธ์ : ศึกษาเกี่ยวกับกลไกการป้องกันต้นยางพาราต่อเชื้อรา Phytophthora palmivora

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดุษฎี ชินนาพันธ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนใจศึกษาเกี่ยวกับกลไกการป้องกันต้นยางพาราต่อเชื้อรา Phytophthora palmivora นำไปต่อยอดพัฒนาเป็นการผลิตสารจากเชื้อราสำหรับการป้องกันการติดเชื้อของต้นยางพาราได้   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดุษฎี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เกียรตินิยมอันดับสอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   จากนั้นได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ศึกษาต่อระดับปริญญาโทควบเอก สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทควบเอก ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “Diverse Functions of  Polypeptide Effectors from Phytophthora palmivora, a Pathogen of Hevea brasiliensis” หลังสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2552  ได้มาเป็นอาจารย์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   นอกจากการสอนที่เน้นให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาที่สอนตั้งแต่ในห้องเรียน โดยพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนแบบ Active Learning แล้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดุษฎี  ยังสนใจศึกษาเกี่ยวกับกลไกการป้องกันของต้นยางพาราต่อเชื้อรา P. palmivora ซึ่งเป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคใบร่วงและเส้นดำในยางพารา จากการวิจัยพบว่า เอฟเฟคเตอร์ต่างๆ ที่ผลิตออกมาจากเชื้อรา สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเหนี่ยวนำให้ต้นยางพาราเกิดระบบป้องกันตนเองได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดุษฎี ชินนาพันธ์ : ศึกษาเกี่ยวกับกลไกการป้องกันต้นยางพาราต่อเชื้อรา Phytophthora palmivora Read More »

อาจารย์ ดร.มานิตย์ นุ้ยนุ่น : ศึกษาพาหะของธาลัสซีเมียและผู้ป่วยธาลัสซีเมียเน้นประชากรภาคใต้

อาจารย์ ดร.มานิตย์ นุ้ยนุ่น อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ และหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศึกษาพาหะของธาลัสซีเมียและผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เน้นศึกษาในประชากรภาคใต้ เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบน เพราะข้อมูลชนิดการกลายพันธุ์ที่พบบ่อยของภาคใต้จะแตกต่างจากภาคอื่นๆ ของประเทศไทย อาจารย์ ดร.มานิตย์ นุ้ยนุ่น เป็นคนอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนพัทลุง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (รุ่นที่ 3) ด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง ได้รับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลนจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ศึกษาต่อระดับปริญญาโทควบเอกสาขาวิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล หลังสำเร็จการศึกษาได้มาเป็นอาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในปี พ.ศ. 2553 วิทยานิพนธ์ของ อาจารย์ ดร.มานิตย์ เรื่อง “A genome-wide association identified the common genetic variants influence disease severity in 0-thalassemia/hemoglobin E” ได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลระดับดีเด่น

อาจารย์ ดร.มานิตย์ นุ้ยนุ่น : ศึกษาพาหะของธาลัสซีเมียและผู้ป่วยธาลัสซีเมียเน้นประชากรภาคใต้ Read More »

อาจารย์ ดร. อุเทน ทับทรวง : วิจัยคาร์บอนรูพรุนและการประยุกต์ใช้งาน

อาจารย์ ดร. อุเทน ทับทรวง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ศึกษาวิจัยคาร์บอนรูพรุนจากพอลิเบนซอกซาซีนผ่านกระบวนการโซล-เจลและการไพโรไลซิส เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น การตรวจวัดแก๊ส (gas sensor) ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) และตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวด (supercapacitor) เป็นต้น อาจารย์ ดร. อุเทน เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเคมี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระหว่างที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาเอก ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัสดุที่มีรูพรุนจำพวกพอลิเมอร์/คาร์บอนและวัสดุนาโนจำพวกซีโอไลต์ โดยเน้นถึงการศึกษาวิธีการสังเคราะห์และการพิสูจน์คุณลักษณะของวัสดุที่สังเคราะห์ได้ หลังจากสำเร็จการศึกษา อาจารย์ ดร. อุเทน ได้มาเป็นอาจารย์ที่สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยยังคงให้ความสนใจงานวิจัยที่เกี่ยวกับคาร์บอนรูพรุนต่อเนื่องจากการศึกษาวิจัยในระดับปริญญาเอก อาจารย์ ดร. อุเทน เล่าว่า คาร์บอนรูพรุนเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ อาทิ น้ำหนักเบา พื้นที่ผิวและปริมาตรรูพรุนสูง ทนทานต่อความร้อนในสภาวะไร้ออกซิเจน ทนทานต่อสารเคมี รูพรุนเชื่อมต่อถึงกันแบบสามมิติ และสภาพการนำไฟฟ้าดี เป็นต้น จากคุณสมบัติเด่นดังกล่าว

อาจารย์ ดร. อุเทน ทับทรวง : วิจัยคาร์บอนรูพรุนและการประยุกต์ใช้งาน Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี : การวิจัยตอบโจทย์การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามแนวทาง sustainable development goals

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักในฐานะนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลรุ่นใหม่ของประเทศไทยที่มีผลงานวิจัยทางด้านทรัพยากรทางทะเลที่โดดเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรปูม้า ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี เป็นศิษย์เก่า รุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจากโรงเรียนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ได้รับทุนพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังสำเร็จการศึกษาได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตรจารย์ทางด้านชีววิทยาประมง หลังจากที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ได้ 5 ปี ก่อนจะได้รับทุนรัฐบาล (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ประเภทพัฒนาบุคลากรของรัฐ ตามความต้องการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล (ocean and earth science) ที่มหาวิทยาลัย Southampton ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลในกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ เล่าว่า ในช่วงที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ได้ทำงานวิจัยเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรหอยนางรมชนิดพันธุ์พื้นเมืองของยุโรป (Ostrea edulis) ที่กำลังจะสูญพันธุ์ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก Natural England จากผลการศึกษาพบว่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี : การวิจัยตอบโจทย์การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามแนวทาง sustainable development goals Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธัญญา ด้วงอินทร์ : บูรณาการงานวิจัยและการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธัญญา ด้วงอินทร์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการสารสนเทศ หลักสูตรการจัดการสารสนเทศดิจิทัล สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความสนใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม เช่น ห้องสมุดดิจิทัล (digital libraries) พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล (digital museums) คลังสารสนเทศสถาบัน (institutional repositories) และจดหมายเหตุดิจิทัล (digital archives) โดยมุ่งเน้นการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface design) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธัญญา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศึกษาระดับปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลังสำเร็จการศึกษาได้มาเป็นอาจารย์สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จากนั้น ได้รับทุนรัฐบาล (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ประเภทพัฒนาบุคลากรของรัฐ ตามความต้องการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศสหราชอาณาจักร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธัญญา เล่าให้ฟังว่า ช่วงที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ที่คณะ Computer and Information Sciences, University of

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธัญญา ด้วงอินทร์ : บูรณาการงานวิจัยและการเรียนการสอนแบบ Active Learning Read More »