Outstanding Research

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศึกษางานวิจัยจากความสงสัยและไม่รู้ เพื่อนำไปสู่การตั้งสมมติฐานเพื่อหาคำตอบ ซึ่งมุ่งเน้นงานวิจัยด้านโรคมาลาเรียและโรคเขตร้อนอื่นๆ โดยดำเนินงานแบบคู่ขนานทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทศนิคการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2549 จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนการศึกษาปริญญาเอกภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติและทุนผู้ช่วยวิจัยบัณฑิตศึกษา จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ ยังได้รับรางวัล Professor Emeritus Khunying Tranakchit Harinasuta Award ซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีผลการเรียน course work ยอดเยี่ยมในหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาอายุรศาสตร์เขตร้อน ประจำปีการศึกษา 2550 ทั้งยังได้รับโล่เกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลการศึกษาดีเยี่ยม พร้อมทั้งมีชื่อบันทึกไว้ใน “DEAN’S LIST” […]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ Read More »

ดร. พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย : ตั้งเป้าหมายเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่มี impact factor สูง

ดร. พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชื่นชอบการทำงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎี โดยตั้งเป้าหมายเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่มี impact factor สูง เช่น Physical Review D (PRD), Journal of Cosmology and Astroparticle Physics (JCAP), Journal of high energy Physics (JHEP) เป็นต้น ดร. พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย ได้ชื่อว่าเป็นนักเรียนและนักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มศักยภาพ จนได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายภายใต้ชื่อ “ทุนรักโรงเรียน” จากโรงเรียนพุนพินพิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระดับปริญญาตรีและปริญญาโทได้รับทุนการศึกษาในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ศึกษาในสาขาวิชาฟิสิกส์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ไม่เพียงเท่านั้นยังได้รับทุนการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกที่ประเทศเดนมาร์ก ในสาขาฟิสิกส์ทฤษฎี เน้นทางด้านฟิสิกส์พลังงานสูง (High Energy Physics) และเอกภพวิทยา (Cosmology)

ดร. พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย : ตั้งเป้าหมายเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่มี impact factor สูง Read More »

อาจารย์ ดร. มนัส โคตรพุ้ย : ศึกษาเชิงประยุกต์ทางเทคนิคการแพทย์

อาจารย์ ดร. มนัส โคตรพุ้ย อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เน้นศึกษาเชิงประยุกต์ทางเทคนิคการแพทย์เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยและการป้องกันโรคต่างๆ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่วารสารระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล ISI จำนวน 8 เรื่อง อาจารย์ ดร. มนัส โคตรพุ้ย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเขมราฐพิทยาคม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากนั้นได้รับทุนพัฒนาอาจารย์จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว ได้มาปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ด้วยความชอบในการสอนหนังสือและชอบที่จะทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงเป็นแรงบันดาลใจทำให้สนใจที่จะทำงานวิจัย ดังนั้นนับตั้งแต่ได้มาปฏิบัติงานในฐานะอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 อาจารย์ ดร. มนัส ก็ทำงานวิจัยควบคู่ไปการสอนนักศึกษา โดยพยายามสนใจค้นคว้าหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำวิจัย เพื่อให้ตนเองมีความตื่นเต้นและพร้อมที่จะทำงานวิจัยอยู่เสมอ ในการทำวิจัยนั้น อาจารย์ ดร. มนัส เล่าให้ฟังว่า

อาจารย์ ดร. มนัส โคตรพุ้ย : ศึกษาเชิงประยุกต์ทางเทคนิคการแพทย์ Read More »

รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนพงศ์ เกิดทองมี : สร้างงานวิจัยจากแรงบันดาลใจและความชอบพร้อมสร้างพันธมิตรในการทำงานวิจัย

รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนพงศ์ เกิดทองมี สร้างผลงานวิจัยจากความสนใจส่วนตัวทางด้านฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมสร้างพันธมิตรเพื่อให้การดำเนินงานวิจัยมีความคล่องตัว โดยขอการสนับสนุนครุภัณฑ์ วัสดุและเครื่องมือวิจัยจากภาคเอกชนผ่านช่องทาง University Program และ Corporate Social Responsibility (CSR) รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนพงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และสอบผ่านเข้ารับทุนการศึกษาของโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มิความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี – เอก โดยจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโทในสาขาวิชาฟิสิกส์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความรู้ทางด้านฟิสิกส์สามารถนำมาต่อยอดการศึกษาทางด้านเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความสนใจเป็นพิเศษตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนพงศ์ จึงศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในสาขา Computer Science (Computer Graphics and Solid Modeling) ที่ Brunel University ประเทศสหราชอาณาจักร หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว ได้กลับมาปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามสาขาที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโท อย่างไรก็ตาม เนื่องจากได้ศึกษาทางด้าน

รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนพงศ์ เกิดทองมี : สร้างงานวิจัยจากแรงบันดาลใจและความชอบพร้อมสร้างพันธมิตรในการทำงานวิจัย Read More »

รศ.ดร. มณฑล เลิศคณาวนิชกุล : เน้นศึกษางานทางด้านเภสัชศาสตร์ชีวภาพ

  รองศาสตราจารย์ ดร. มณฑล เลิศคณาวนิชกุล อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นศึกษาในระดับลึกที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเภสัชศาสตร์ชีวภาพ (Biopharmaceutical Sciences) โดยนำเอาจุลินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์ออกฤทธิ์ทางเภสัชที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการแพทย์ และงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รองศาสตราจารย์ ดร. มณฑล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านจุลชีววิทยา เกียรตินิยมอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยบูรพา จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกทางด้านเภสัชศาสตร์ชีวภาพจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมุ่งเน้นศึกษาในระดับลึกที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเภสัชศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการนำจุลินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาโดยจุลินทรีย์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการแพทย์ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้มีความชำนาญการเกี่ยวกับจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นโทษและที่เป็นประโยชน์ เมื่อพูดถึงจุลินทรีย์ รองศาสตราจารย์ ดร. มณฑล เล่าให้ฟังว่า “จุลินทรีย์มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์หลายด้าน เช่น ด้านการแพทย์และสัตวแพทย์ ด้านสาธารณสุข ด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นจุลินทรีย์ยังมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้อยู่รอบตัวเรา ทั้งในอากาศ น้ำ และอาหาร มีทั้งกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมนุษย์ตั้งแต่โบราณแม้ไม่เคยรู้จักจุลินทรีย์มาก่อนแต่ก็ได้เคยใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์มาแล้วแทบทั้งสิ้น และก็ยังคงพบกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษอยู่บ้างที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคต่างๆ ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ แต่ก็เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์” อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ ไม่ว่าจะด้วยความเชื่อของตนเองหรืออิทธิพลของสื่อต่างๆ ทำให้เกิดความเกลียดกลัวจุลินทรีย์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งสกปรกและนำมาซึ่งความเจ็บป่วย แต่ในความเป็นจริงแล้วได้มีการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย

รศ.ดร. มณฑล เลิศคณาวนิชกุล : เน้นศึกษางานทางด้านเภสัชศาสตร์ชีวภาพ Read More »

รัชฎา คชแสงสันต์ : พัฒนางานวิจัยแบบมีส่วนร่วมจากชุมชน

นางสาวรัชฎา คชแสงสันต์ นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เน้นแนวทางการการพัฒนางานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่มาจากความต้องการหรือปัญหาของชุมชนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาในพื้นที่ชุมชนเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง นางสาวรัชฎา คชแสงสันต์ จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากนั้นศึกษาต่อวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชนบท จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างศึกษาอยู่ได้รับทุนวิจัยมูลนิธิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และในปี 2549 ได้เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมไปมีบทบาทการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ให้สามารถกลับมาเป็นแหล่งผลิตทางเกษตรที่อุดมสมบูรณ์และชุมชนสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทำให้ นางสาวรัชฎา ได้แรงบันดาลใจในการทำวิจัย โดยเน้นที่การทำอย่างไรให้ชุมชนได้ตระหนักรู้คิดเท่าทันและร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างรู้คุณค่าอย่างยั่งยืน ทำอย่างไรให้ชุมชนได้ตระหนักในคุณค่าและภาคภูมิใจในองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชุมชน แล้วดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาของชุมชนเหล่านั้นให้เป็นวิถีของชุมชน และทำอย่างไรชุมชนจะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองบนฐานทรัพยากรของชุมชน ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยงานวิจัยที่เธอให้ความสนใจเป็นพิเศษเป็นเรื่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำโดยชุมชน การอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้านและไม้พื้นเมือง ภูมิปัญญาและการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นางสาวรัชฎา ได้ทำงานวิจัยทั้งในฐานะหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 19 โครงการ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น โครงการการพัฒนารูปแบบการจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำปากพนังอย่างยั่งยืนโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านวังหอน ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากเครือข่าย สกอ. ภาคใต้ตอนบน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าพรุคลองค็องอย่างยั่งยืน

รัชฎา คชแสงสันต์ : พัฒนางานวิจัยแบบมีส่วนร่วมจากชุมชน Read More »

อาจารย์บุณฑรี จันทร์กลับ ศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช

อาจารย์บุณฑรี จันทร์กลับ อาจารย์ประจำสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเน้นด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน รวมทั้งการสังเคราะห์ข้อมูลจังหวัดนครศรีธรรมราช งานวิจัยของอาจารย์บุณฑรี ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เรื่อง การศึกษารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของการปลูกปาล์มในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า รูปแบบของโซ่อุปทานของปาล์มน้ำมันแบ่งได้ 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ขายให้กับโรงงานสกัดโดยตรง รูปแบบที่ 2 ขายให้กับผู้ประกอบการลานเทเอง แล้วผู้ประกอบการลานเทปาล์มขายต่อให้กับโรงงานสกัดปาล์ม รูปแบบที่ 3 ผู้ประกอบการลานเทเก็บเกี่ยวผลผลิต ไปขายให้กับโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน รูปแบบที่ 4 ทีมรับจ้างฯ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายให้กับผู้ประกอบการลานเท จากนั้นผู้ประกอบการลานเทนำผลผลิตปาล์มไปขายให้กับโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน และรูปแบบที่ 5 สหกรณ์รวบรวมผลผลิตปาล์มน้ำมันจากกลุ่มสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่นำผลผลิตมาขาย ไปขายต่อให้กับโรงงานสกัด จากการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนที่เกิดขึ้นตลอดโซ่อุปทานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ผู้ขายวัตถุดิบหรือเกษตรกรมีต้นทุนการปลูกปาล์มน้ำมัน 2.82 บาทต่อกิโลกรัมของผลปาล์มสด ในขณะที่ผู้รวบรวมหรือลานเทมีต้นทุนประกอบการกิโลกรัมละ 4.73 บาท ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร มีด้วยกัน 6 ด้าน คือ ด้านสังคม เห็นคนอื่นทำได้ผลดี สมาชิกในครัวเรือนสนับสนุนให้ปลูก และการแนะนำของเพื่อนบ้าน ด้านเศรษฐกิจ

อาจารย์บุณฑรี จันทร์กลับ ศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช Read More »

รศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ : ยึดแนวคิดวิจัยจากงานสอน โจทย์ท้องถิ่น และโอกาสนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นผลักดันผลงานวิจัยสู่ภาคการผลิต โดยยึดการทำงานวิจัยจากงานสอน โจทย์จากท้องถิ่น และโอกาสนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการสร้างโจทย์วิจัย จนได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นอาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปี 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช และศึกษาต่อสาขาชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้รับทุนการศึกษาภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์ ตามความต้องการของภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาจุลชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาจึงได้เข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับทุนการศึกษา และได้รับทุนหลังจบการศึกษาปริญญาโทจากองค์กรยูเนสโกเพื่อศึกษาด้านจุลชีววิทยา (UNESCO International Post-Graduate University Course in Microbiology) ที่มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นก็ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น (Monbushou) ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโตโฮกุ เมืองเซ็นได ประเทศญี่ปุ่น และเมื่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เปิดการเรียนการสอนเป็นปีแรก ในปี พ.ศ. 2541 รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา

รศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ : ยึดแนวคิดวิจัยจากงานสอน โจทย์ท้องถิ่น และโอกาสนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม Read More »

รศ.ดร.สายฝน เอกวรางกูร: นำงานบริการวิชาการและวิจัยสู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบวกสำหรับนักศึกษา

  รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน เอกวรางกูร อาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างการบริการวิชาการ การทำงานด้านการวิจัย และการเรียนการสอน โดยทำงานทั้ง 3 ด้านควบคู่และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งคำถามหรือโจทย์ปัญหาด้านการบริการวิชาการจะนำมาผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ใหม่และทำอย่างต่อเนื่องเป็นระบบจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาพยาบาลได้ รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน เอกวรางกูร เป็นคนอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2538 เริ่มทำงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ได้รับปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2542 จากนั้นได้ผ่านการคัดเลือกเป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในปี พ.ศ. 2543 หลังจากที่ได้ทำงานในฐานะอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นเวลา 2 ปี ด้วยความที่เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน จึงได้ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก โดยได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในโครงการพัฒนาอาจารย์ระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการพยาบาล ซึ่งระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น ได้ทำงานด้านวิชาการและการวิจัยควบคู่กันไปด้วย จึงทำให้มีผลงานเพียงพอในการขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยได้รับตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ในปี พ.ศ. 2548 ก่อนสำเร็จการศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพยาบาลจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปี พ.ศ.

รศ.ดร.สายฝน เอกวรางกูร: นำงานบริการวิชาการและวิจัยสู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบวกสำหรับนักศึกษา Read More »

ดร. ชมพูนุท นันทเมธี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

ดร. ชมพูนุท นันทเมธี อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความสุขทุกครั้งที่สอนนักศึกษาด้วยตระหนักเสมอว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีความสำคัญเพราะนักศึกษาคือกำลังพลที่พร้อมจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไป ด้านงานวิจัยที่ทำควบคู่กันกับการสอน เป็นงานที่ทำเพื่อพัฒนาตนเองให้ก้าวไปพร้อมกับโลกในยุคปัจจุบันและเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา ดร. ชมพูนุท นันทเมธี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นได้รับทุนในโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2551 ได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามความต้องการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ โดยระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยสอนในรายวิชาเคมีของวัสดุที่มีรูพรุนระดับนาโน เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการและนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงเมื่อสำเร็จการศึกษา หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 2556 ได้กลับมาเป็นอาจารย์ที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ดร. ชมพูนุท ได้เล่าว่า ตนนั้นสนุกและมีความสุขทุกครั้งที่เข้าสอนนักศึกษา เพราะตระหนักเสมอว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากเพียงไร นักศึกษาที่นั่งอยู่ตรงหน้าทุกคนคือกำลังสำคัญที่จะผลักดันประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไป ส่วนงานวิจัยนั้น นอกจากจะทำเพราะอยากรู้ ทำเพราะรักที่จะทำแล้ว อีกเหตุผลหนึ่ง คือทำเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อกระตุ้นตนเองให้ก้าวไปพร้อมกับโลกยุคใหม่และยังหวังจะนำประสบการณ์ที่ได้มาถ่ายทอดให้นักศึกษาเรียนรู้ต่อไป เมื่อถามถึงมุมมองด้านงานวิจัยว่า

ดร. ชมพูนุท นันทเมธี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ Read More »