ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

ข่าวกิจกรรมวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัย

ข่าวกิจกรรมงานวิจัยและงานวิจัยเผลแพร่ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิจัยและนวัตกรรม

ผลงานวิจัยอาจารย์ ม.วลัยลักษณ์ ได้รับเชิญร่วมงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2559

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้คัดเลือกผลงานวิจัยอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2559 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-21 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิด์ล ราชประสงค์ กรุงเทพ ผลงาน “โคมไฟหนังตะลุง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรวัต สุขสิกาญจน์ อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และ โครงการวิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยี “ลานสกาโมเดล” โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนจากระดับครัวเรือนถึงอำเภอ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุวรรณบำรุง อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจากนักวิชาการ นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา ภาคธุรกิจ และผู้สนใจจากทั่วประเทศ 

ผลงานวิจัยอาจารย์ ม.วลัยลักษณ์ ได้รับเชิญร่วมงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2559 Read More »

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมงาน มหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2559

      มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมแสดงผลงาน ในงาน Thailand Research Expo 2016 ระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิด์ล ราชประสงค์ กทม. จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้นำทัพบุคลากรสายสนับสนุนที่มีศักยภาพในการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรม หรืองานวิจัย โดยผลงานที่เข้าร่วมแสดงผลงาน ประกอบด้วย 1. เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกด้วยคลื่นไมโครเวฟแบบต่อเนื่อง ผสมลมร้อน โดย คุณไพรวัลย์ เกิดทองมี นักวิทยาศาสตร์ศูนย์เครื่องมือวืทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. เครื่องอัดถ่านพลังงาน โดย นายฮาเล็ม ดอเลาะ นายวีรชาติ รานวล นส.ธินาพร สุทธิวิริยะ นักวิทยาศาสตร์ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3.วิธีการย่อยโฟม โดยนายวีรชาติ รานวล และนายฮาเล็ม ดอเลาะ นักวิทยาศาสตร์ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4.ประสิทธิภาพการใช้หลอด LED ในการเพิ่มแสงสว่างและลดการใช้พลังงานภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยนายธวัชชัย ประดู่ และนายเมษา สินทบทอง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมงาน มหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2559 Read More »

ผศ.ดร.ปัทมวรรณ จิมากร ซิลลิ ปาฐกถาพิเศษ “Active Learning : Challenges and Innovations” ในงานประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมวรรณ จิมากร ซิลลิ อาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถาพิเศษ “Active Learning : Challenges and Innovations” ในงานประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก “Active Learning : Challenges and Innovations” เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559 ณ ห้องอรพินธ์ โรงแรมทวินโลตัส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมวรรณ กล่าวว่า ข้อจำกัดในการทำห้องเรียน Active Learning ด้วยนวัตกรรม เริ่มจาก ความท้าทายที่ 1 Education in peril ระบบการศึกษาของไทยไม่ดี ถึงจุดต่ำสุด ไม่ว่าจะเป็นการประเมินระดับโลกหรือระดับภูมิภาค ประเทศไทยมีการลงทุนจากต่างชาติจำนวนมาก แต่ทำไมภาษาอังกฤษของเราก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การศึกษาแย่ เราได้ทำใหการศึกษาไทยดีขึ้นรึเปล่า หากเราดูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคน ถ้าเรียนด้วยการอ่าน ได้ยิน และดู จะจำได้ 10%, 20%

ผศ.ดร.ปัทมวรรณ จิมากร ซิลลิ ปาฐกถาพิเศษ “Active Learning : Challenges and Innovations” ในงานประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก Read More »

ผศ.พญ.มยุรี วศินานุกร บรรยายพิเศษ “การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา” ในงานประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมยุรี วศินานุกร อดีตคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บรรยายพิเศษ “การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case-based Learning)” ในงานประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning : Challenges and Innovations) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา ณ ห้องอรพินท์ โรงแรมทวินโลตัส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมยุรี เล่าว่า Case-based Learning เป็นส่วนหนึ่งที่เล็กมากของ Active Learning โดยเป็นประสบการณ์ที่เราพบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาสืบค้นต่อ เป็นการกระตุ้นสมองให้ทำงาน เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ เริ่มจากทำอย่างไรให้นักศึกษาใช้สมอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ได้ ความจริงที่ว่าในชั้นเรียนที่โรงเรียนกิจกรรมสมองของนักเรียนน้อยกว่าในขณะที่เล่น Gates of Olympus บังคับให้เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้โดยทั่วไป เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมยุรี เล่าว่า ทักษะที่จำเป็นต้องมีในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 1) ความรู้

ผศ.พญ.มยุรี วศินานุกร บรรยายพิเศษ “การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา” ในงานประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก Read More »

ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการ Active Learning: Challenges and Innovations

ส่วนส่งเสริมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning : Challenges and Innovations เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ การพัฒนาการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ชยานุวัชร หัวหน้าคณะทำงานพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ส่วนส่งเสริมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning: Challenges and Innovations ระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการต่างประเทศ ม.วลัยลักษณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดอย่างเป็นทางการ ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ชยานุวัชร กล่าวว่า การประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิจัย นักการศึกษาและนักศึกษาได้เสนอผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการทางด้านการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Leaning

ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการ Active Learning: Challenges and Innovations Read More »

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ลงนามความร่วมมือกับ Okayama University of Science, Japan

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยการริเริ่มของสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ลงนาม MOU กับ Okayama University of Science ประเทศญี่ปุ่น โดยได้มีการดำเนินโครงการวิจัยกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาเป็นเวลาประมาณ 2 ปีแล้วในด้าน “Developing of novel water for freshwater and seawater shrimp live together without any physiological losses” ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สถาพร ดิเรกบุษราคม อาจารย์สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรเป็นผู้ประสานงานหลัก กำหนดระยะเวลาใน MOU คือ 5 ปี สาระสำคัญของ MOU มีเนื้อหาดังนี้ 1. การแลกเปลี่ยนนักศึกษา 2. การแลกเปลี่ยนอาจารย์ 3. การทำวิจัย 4. สหกิจศึกษา 5. การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม 6. การร่วมมือในระดับหลักสูตรและการศึกษานอกพื้นที่สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 7.

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ลงนามความร่วมมือกับ Okayama University of Science, Japan Read More »

ม.วลัยลักษณ์ จัดอบรม Training Workshop on Plasma Diagnostics for Fusion Research

ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรม The 1st Training Workshop on Plasma Diagnostics for Fusion Research  ระหว่างวันที่ 25 – 27 กรกฎาคม 2559 โดยได้รับเกียรติจาก นายวราวุธ ขจรฤทธิ์    รักษาการรองผู้อำนวยการ (วิชาการ) เป็นผู้แทนผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ กล่าวเปิดงาน การจัดอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางด้านพลาสมาและพลังงานฟิวชั่น เพื่อให้เกิดงานวิจัยและการพัฒนาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบวัดพลาสมา อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพลาสมาและพลังงานฟิวชั่นระหว่างกลุ่มวิจัยภายในประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(สทน.) มีผู้เข้าร่วมทั้ง อาจารย์  นักวิจัยและนักศึกษาทั่วประเทศ            กิจกรรมฝึกอบรมได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ประกอบด้วย การบรรยาย – หัวข้อภาพรวมและแผนการพัฒนางานวิจัยและบุคลากรทางด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear fusion) ในประเทศไทย โดย  ดร. รพพน พิชา หัวหน้าฝ่ายฟิสิกส์และวิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ – หัวข้อ แนะนำพื้นฐานและองค์ความรู้ด้านพลาสมาฟิสิกส์ และกระบวนการในการวัดคุณสมบัติของพลาสมา ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิและความหนาแน่นของพลาสมาโดยใช้เทคนิค

ม.วลัยลักษณ์ จัดอบรม Training Workshop on Plasma Diagnostics for Fusion Research Read More »

ผลงานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ ได้รับการเผยแพร่ใน Walailak J Sci & Tech

บทความวิจัยเรื่อง An Integrated Event Detection and Decision Support System for Managing the Health of Ocean and Climatic Sensor ของ คุณเปรมฤดี นุ่นสังข์ และ พีรวิชญ์ เควด นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ รศ.ดร. กฤษณะเดช และ รศ.ดร มัลลิกา เจริญสุธาสินี อาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับการเผยแพร่ใน Walailak Journal of Science and Technology Vol. 13 no. 9 September 2016: Botany, Wildlife and Coastal Research บทความอื่นๆ ที่ร่วมตีพิมพ์ในเล่มนี้มีเนื้อหาด้านชีววิทยา

ผลงานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ ได้รับการเผยแพร่ใน Walailak J Sci & Tech Read More »

วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เผยแพร่ออนไลน์ แล้ว

วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์(สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เนื้้อหาทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องกันตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๑ ระยะเริ่มแรกเป็นสิ่งตีพิมพ์จำนวนหน้าไม่มากนัก ขนาดกระดาษเอสี่ ต่อมาพัฒนารูปแบบให้กะทัดรัดมีขนาดเล็กลง และพัฒนาเนื้อหามาตามลำดับ ได้เผยแพร่ภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในประเทศ และบางฉบับสjงไปต่างประเทศตามความประสงค์ของสถานการศึกษาต่างประเทศที่เปิดสอนเกี่ยวกับภาษาไทยและไทศึกษา ขณะนี้ วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ฉบับล่าสุดและย้อนหลังไป ๒ ฉบับ ได้เผยแพร่ออนไลน์แล้วตามนโยบายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส่วนการพิมพ์เป็นเล่มยังคงมีอยู่แต่ลดจำนวนการจัดพิมพ์ลงไป ท่านที่ประสงค์จะรับวารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์เป็นเล่ม ผู้สนใจสามารถรับได้ที่ สำนักงานอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ อาคารพลศึกษา โอกาส จึงขอเชิญชวนบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ที่สนใจด้านศิลปะและวัฒนธรรมเปิดอ่านวารสารออนไลน์สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เพื่อความรู้ความเข้าใจในด้านนี้และความบันเทิงใจในสุนทรียรสแห่งวรรณกรรม     ข่าวโดย อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์

วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เผยแพร่ออนไลน์ แล้ว Read More »

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเวทีฝึกอบรมหลักสูตร “Human Subject Protection Course”ส่งเสริมจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์

        มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร“Human Subject Protection Course” ณ ห้องประชุม 4 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2559 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม เป็นประธานเปิดการอบรม มีนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและนักวิชาการและนักวิจัยของหน่วยงาน/สถาบันต่างๆ เข้าร่วมกว่า 200 คน   รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยสถานวิจัยวิทยาการสุขภาพและสำนักวิชาแพทยศาสตร์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร“Human Subject Protection Course” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ให้แก่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และหน่วยงานหรือองค์กรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเพื่อพัฒนาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ให้มีมาตรฐานในการพิจารณาโครงการตามหลักสากลอันจะส่งผลต่อการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพของประเทศ การวิจัยในสาขาจริยธรรมจะช่วยให้คาดการณ์และวิเคราะห์การกระทำของมนุษย์ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ แบบจำลองพฤติกรรมมนุษย์ในสถานการณ์และสถานที่ต่างๆ เริ่มต้นด้วยการสนทนากับคนแปลกหน้าทั่วไปและจบลงด้วยการสื่อสารระหว่างเกมที่ bet amo รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ตั้งเป้าหมายที่จะยกระดับมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลก

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเวทีฝึกอบรมหลักสูตร “Human Subject Protection Course”ส่งเสริมจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ Read More »