ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

Outstanding Research

ดร.วาริท เจาะจิตต์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์

ดร.วาริท เจาะจิตต์ อาจารย์ประจำหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ เชื่อว่า การทำวิจัยที่เหมาะสมที่สุดในบทบาทของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย คือการทำวิจัยบนพื้นฐานของโจทย์วิจัยที่เป็นที่ต้องการของสังคม และสามารถนำมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและนักศึกษา ดร.วาริท จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเคมีการเกษตร และปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขา Environmental Sciences, Wageningen University ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในช่วงต้นของการเริ่มทำงานวิจัย ดร. วาริท เล่าให้ฟังว่า ได้ทำวิจัยในหัวข้อเฉพาะที่ตนเองสนใจ เมื่อมีโอกาสมาทำงานกับภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น จึงพบว่า อุตสาหกรรมมักจะเป็นจำเลยสำคัญในการก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงมีความเคยชินกับการจัดการแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดการมลพิษ ดังนั้น งานวิจัยที่ทำจึงเกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Ecology) หรือ อุตสาหกรรมสีเขียว โดยใช้เครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานทางสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อุตสาหกรรมมีกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ที่สำคัญเป็นการวิจัยการจัดการและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อ “ป้องกัน” ปัญหาที่ต้นเหตุ (Source reduction) หรือป้องกันมลพิษมากกว่าการศึกษาเรื่องการ “บำบัด” ของเสียหรือมลพิษที่ปลายเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยาง ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของภาคใต้ […]

ดร.วาริท เจาะจิตต์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ สำนักวิชาการจัดการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาการจัดการ มุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยทางด้านการตลาดสมัยใหม่ และการบริโภคอย่างยั่งยืนที่มุ่งเป้าหมายการพัฒนางานวิจัยและงานวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ เป็นชาวราชบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด (เกียรตินิยมอันดับ 2) และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ปฏิบัติงานตำแหน่งอาจารย์สำนักวิชาการจัดการ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ จากนั้นได้รับทุนพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือน หรือ (ก.พ.) ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาการตลาด ที่ University of Exeter ประเทศสหราชอาณาจักร ด้วยความมุ่งมั่นและสนใจงานด้านการบริหารธุรกิจและการตลาดตามที่ได้ศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ประกอบกับแนวคิดในการทำงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ คือ การตั้งใจทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด และไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้หากเราตั้งใจและเริ่มต้นลงมือทำ ดังนั้น ในฐานะอาจารย์และนักวิชาการ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการตลาดและการบริโภคให้อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางการตลาด ได้จัดตั้งกลุ่มวิจัยการบริโภคและเศรษฐกิจยั่งยืนและได้ยกระดับเป็นหน่วยวิจัยภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งภายใต้ภารกิจการเป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยการบริโภคและเศรษฐกิจยั่งยืน หรือ Consumption and Sustainable

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ สำนักวิชาการจัดการ Read More »

ดร. สุรัสวดี กุลบุญ ก่อเกื้อ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

ดร. สุรัสวดี กุลบุญ ก่อเกื้อ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ประจำปี 2555 ในหัวข้อ ระบบตรวจสอบและบริหารการใช้พลังงานอัจฉริยะภายในครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจตั้งแต่ศึกษาระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.สุรัสวดี เป็นคนจังหวัดตรังโดยกำเนิด จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โดยสอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ.2540 จากนั้น ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ผศ.ดร. สมบูรณ์ แสงวงค์วาณิชย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ระหว่างศึกษาต่อระดับปริญญาโทในปี 2545 ดร.สุรัสวดี ได้รับทุนพัฒนาอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้กลับมาทำงานชดใช้ทุนภายหลังสำเร็จการศึกษา โดยสังกัดสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ต่อมาในปี 2550 ดร. สุรัสวดี ได้รับทุน กพ. (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เน้นเทคโนโลยีพลังงาน ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ The University

ดร. สุรัสวดี กุลบุญ ก่อเกื้อ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร Read More »

รองศาสตราจารย์ ดร. วาริน อินทนา สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

รองศาสตราจารย์ ดร. วาริน อินทนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และหัวหน้าหน่วยวิจัยไม้ผลเขตร้อน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นักวิจัยที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาศักยภาพการผลิตพืชของประเทศไทย โดยมุ่งเน้น “การผลิตพืชด้วยต้นทุนต่ำและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค” เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนนาส่วงวิทยา มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนวิจิตราพิทยา จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยความที่เป็นลูกชาวนาจึงตั้งใจแน่วแน่ว่า จะศึกษาทางด้านเกษตร โดยมีความเชื่อมั่นเสมอว่า “ในทุกๆวันมนุษย์ทุกคนจะดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องพึ่งพาอาหารและปัจจัย 4 อื่นๆ ที่เป็นผลิตผลจากการเกษตรทั้งสิ้น” จึงได้เข้าศึกษาในคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี โทและเอก โดยได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก (วปก.) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สอนวิชาทางด้านโรคพืชทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาตามอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ พร้อมทั้งมุ่งมั่นทำงานวิจัยทางด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับโรคพืชตามสาขาวิชาที่จบการศึกษาและมีความเชี่ยวชาญ โดยได้ยึดตามคำสอนของ รองศาสตราจารย์ ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง อาจารย์ที่ปรึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่พูดเสมอว่า “ความสุขและภูมิใจที่สุดของชีวิตการทำงานของเรา ไม่ใช่การได้รับตำแหน่งสูงแล้วหลบหลีกงานเพื่อให้ตนเองได้อยู่อย่างสบายไปวันๆ แต่เป็นการทุ่มเททำงานจนเกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานและสังคมต่างหาก” รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน จึงได้ทุ่มเทเวลาให้กับงานสอนและงานวิจัย ทั้งในฐานะอาจารย์ทางด้านโรคพืชและหัวหน้าหน่วยวิจัยไม้ผลเขตร้อน โดยมีงานวิจัยกว่า 18 โครงการ

รองศาสตราจารย์ ดร. วาริน อินทนา สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ คณบดีและอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีไมโครเวฟในเชิงฟิสิกส์และวิศวกรรม ทำให้สามารถควบคุมการทำงานของแมกนีตรอนเพื่อใช้ในการอบแห้งและการให้ความร้อนกับวัสดุได้เป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการยอมรับทั้งจากภาคเอกชนและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับอนุสิทธิบัตร “เครื่องให้ความร้อนเมลามีนด้วยคลื่นไมโครเวฟ” และได้ยื่นจดสิทธิบัตร 1 เรื่อง อนุสิทธิบัตร 2 เรื่อง จากผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีไมโครเวฟของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ ได้นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของธุรกิจ SMEs ไทย โดยมีผู้ประกอบการหลายแห่งได้นำเครื่องอบไมโครเวฟไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยลดการพึ่งพาเครื่องจักรจากต่างประเทศ เช่น เครื่องอบแห้งข้าวพองของกลุ่มแม่บ้านข้าวพองแม่บุญจิต และเครื่องอบแห้งสมุนไพรเพื่อผลิตผงนัวส์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนมกะหรี่ปั๊บนมสดบ้านครูยุ จังหวัดราชบุรี เป็นต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ เป็นนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ เกียรตินิยมอันดับสอง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากนั้น ได้รับทุน Monbusho ของรัฐบาลญี่ปุ่น และทุนโครงการ พสวท. ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น จนจบปริญญาโทและปริญญาเอกด้านพลาสมาฟิสิกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ ทำหน้าที่สอนรายวิชาต่างๆ ด้านฟิสิกส์ในระดับปริญญาตรี รวมทั้งเป็นประธานกรรมการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ สอนและควบคุมวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ Read More »

ดร.วัณณสาส์น นุ่นสุข สำนักวิชาศิลปศาสตร์

ดร.วัณณสาส์น นุ่นสุข อาจารย์ใหม่สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านโบราณคดี จาก Cornell University ผู้มีความมุ่งมั่นศึกษาเรียนรู้และวิจัยเกี่ยวกับมรดกทางโบราณคดีของคาบสมุทรสยาม โดยในขั้นต้นเน้นศึกษาเรื่อง “รัฐตามพรลิงค์” ภายใต้โครงการโบราณคดีคาบสมุทรสยาม (The Archaeology of Peninsular Siam Project) และได้เป็นหนึ่งในคณะทำงานของจังหวัดเพื่อขึ้นทะเบียนพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นมรดกโลก ดร.วัณณสาส์น เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยกำเนิด คลุกคลีอยู่กับแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่เด็ก ด้วยเหตุที่คุณพ่อ รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา นุ่นสุข เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี จึงได้นำบุตรชายท่องเที่ยวไปยังแหล่งโบราณคดีที่ท่านค้นคว้าวิจัย ทำให้เด็กชายวัณณสาส์นซึมซับและให้ความสนใจกับการศึกษาโบราณคดีของภาคใต้โดยไม่รู้ตัว ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ได้สอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยม อันดับ 1 จากนั้น ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล แผนกอักษรศาสตร์ ไปศึกษาต่อทางด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดีในระดับปริญญาโท ที่ University of Hawaii และในระดับปริญญาเอกที่ Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้าน Southeast Asian Studies

ดร.วัณณสาส์น นุ่นสุข สำนักวิชาศิลปศาสตร์ Read More »

รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์และนักวิจัยผู้มุ่งมั่นผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ โดยมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอนุมูลอิสระที่มีผลต่อการทำลายและการตายของเซลล์ระบบประสาทสมองเสื่อมที่มีผลกระทบจากการใช้เคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง พิษจากการได้รับสารตะกั่วและโรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของประชากรไทยในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากอุบัติการณ์ของโรคประสาทสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ ที่พบสูงขึ้นในผู้สูงอายุและส่งผลกระทบถึงปัญหาทางด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง เป็นคนจังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสุนารีวิทยา ปริญญาตรีสาขาเทคนิคการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริญญาโทสาขาชีวเคมี จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาเอกสาขาชีวเวชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้มีโอกาสในการศึกษาวิจัยวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัย Kentucky ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับทุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UMAP) เพื่อศึกษาวิจัย ณ ประเทศญี่ปุ่น จากความมุ่งมั่นในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทำให้ประสบความสำเร็จด้านการวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จนมีบทความตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติตามฐานข้อมูลระดับสากล ISI จำนวน Citation สูงสุดถึง 48 ครั้ง ในระหว่างปี 2551 – 2555 เรื่อง A Neuronal Model of Alzheimer’s Disease

รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ Read More »

รองศาสตราจารย์ ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นนักวิจัย ผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการผลิตผลงานวิจัยทางด้านอนุภาคแม่เหล็กนาโน ฟิล์มบางแม่เหล็ก และวัสดุคอมโพสิตแม่เหล็ก ให้มีมาตรฐานเผยแพร่ในระดับนานาชาติ เพื่อเพิ่มดัชนีความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และตั้งเป้าหมายให้จำนวนบทความวิจัยต่อจำนวนอาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อยู่ในระดับสากล รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ เป็นคนจังหวัดสงขลา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร โดยได้รับทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ตั้งแต่ชันมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับปริญญาเอก จากความตั้งใจที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงสนใจที่จะศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาฟิสิกส์ และจบการศึกษาทางด้านนี้ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก โดยผลงานวิจัยกว่า 30 เรื่อง ได้รับแรงบันดาลใจและแนวคิดจากการอ่านบทความวิจัยในวารสารวิชาการที่หลากหลาย ทำให้มีความรู้และมุมมองทางวิชาการที่ใหม่อยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็ดูตัวอย่างจากบุคคลทุกอาชีพที่รักษาหน้าที่ ทำงานด้วยความมุ่งมั่น รวมทั้งจากภาพยนตร์ แล้วปรับมาใช้กับตนเองในฐานะของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ต้องทำวิจัยควบคู่ไปกับการสอนนักศึกษาด้วย แนวทางในการทำงานด้านการวิจัย/การเรียนการสอน รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ เล่าให้ฟังว่า เป็นคนใช้ชีวิตให้เรียบง่าย แต่ใช้ความคิดให้ซับซ้อน ทำงานด้วยความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบสูง โดยใช้ทรัพยากรและงบประมาณให้น้อย แสวงหาผลประโยชน์แค่เพียงพอ แต่ไม่หยุดแสวงหาทางแก้ปัญหาและพัฒนางาน ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มทำงานในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่ปี 2543

รองศาสตราจารย์ ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ Read More »