ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

Outstanding Research

ดร.พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา 1 ใน 5 ตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม GYSS ประจำปี 2560

อาจารย์ ดร.พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เป็น 1 ใน 5 ตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Global Young Scientist Summit : GYSS) ประจำปี 2560 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 21 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ อาจารย์ ดร.พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคนกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจิตรลดา โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลนักเรียนเรียนดีที่โรงเรียนจิตรลดา เป็นประจำทุกปี จึงมีความมุมานะและพยายามตั้งใจเรียนตลอดในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนได้รับพระราชทานรางวัลเรียนดีจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และสอบได้ทุนการศึกษาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรี – […]

ดร.พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา 1 ใน 5 ตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม GYSS ประจำปี 2560 Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรวัต สุขสิกาญจน์ : การวิจัยและสร้างสรรค์เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมภาพแกะหนังตะลุง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรวัต สุขสิกาญจน์ อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พัฒนาและออกแบบหัตถกรรมภาพแกะหนังตะลุงให้มีความแตกต่างและโดดเด่นเฉพาะตัว โดยสร้างสรรค์รูปแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ผลิตตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับสากล ที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์สืบสานหัตถกรรมพื้นบ้านให้คงอยู่คู่วิถีชีวิตของภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช งานหัตถกรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นคู่กับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คน มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เรียบง่ายและงดงาม มีคุณค่าและความสำคัญในแง่ของศิลปะและหัตถกรรม นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม ตลอดเวลาของการสร้างศิลปะนั้นๆ งานหัตถกรรมจึงไม่ได้เป็นเพียงการสร้างสรรค์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นการสร้างสรรค์ซึ่งมีลักษณะของช่างพื้นบ้านที่ปรากฏออกมา โดยผสมผสานกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมและประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลานับร้อยปี หัตถกรรมแกะหนังเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีตควบคู่กับการเล่นหนังตะลุง ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ ซึ่งแต่เดิมใช้เพื่อการแสดงหนังตะลุงที่ทำกันอยู่ในวงแคบๆ ต่อมาได้มีผู้คิดค้นแกะรูปหนังตะลุงออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ตามตลาดนัดแรงงานและเทศกาลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้านรูปแบบก็ค่อยๆ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป แทนที่จะแกะรูปหนังเชิดอย่างเดียว ก็แกะเป็นรูปหนังใหญ่ รูปหนังสำหรับประดับตกแต่ง หรือ พวงกุญแจของที่ระลึก เป็นต้น จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีการผลิตงานหัตถกรรมหลากหลายประเภทที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งชื่อเสียงด้านหัตถกรรมประณีตศิลป์มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัตถกรรมภาพแกะหนังตะลุง แต่ปัจจุบันได้มีการผลิตหัตถกรรมประเภทนี้ในระบบหัตถอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ทำให้รูปแบบที่ผลิตออกมาไม่แตกต่างกัน ส่งผลต่อรายได้ที่ลดลงของผู้ผลิตที่สร้างสรรค์ผลงานมาแต่เดิมในเชิงศิลปะและการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา ที่สำคัญทำให้ไร้คนสืบทอดงานสร้างสรรค์ในอนาคต ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรวัต สุขสิกาญจน์ ซึ่งเป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยกำเนิด และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีความเห็นว่า คุณค่าอันสื่อถึงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อให้มีความแตกต่างและโดดเด่นเฉพาะตัว จึงจะทำให้งานหัตถกรรมภาพแกะหนังตะลุงยังคงอยู่คู่กับท้องถิ่นและสังคมไทย ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าและเพิ่มรายได้ในการเลี้ยงตนเองของผู้ผลิตงานศิลป์ประเภทนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรวัต สุขสิกาญจน์ : การวิจัยและสร้างสรรค์เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมภาพแกะหนังตะลุง Read More »

รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล มาแทน : ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์

รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล มาแทน อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และหัวหน้าห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์ มีความสนใจและความรักในศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ทำวิจัยในหัวข้อนี้อย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษาระดับปริญญาเอก และเมื่อมาปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก็ได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการฯ เพื่อทำวิจัยและเป็นฐานพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์น้ำมันหอมระเหยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ที่สำคัญเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์ในด้านนี้ให้กับประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล เชื่อว่า ข้อมูลวิทยาศาสตร์เชิงลึกจากห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนสู่ชุมชนและสู่อุตสาหกรรม โดยได้สะสมความรู้ความเข้าใจเชิงลึกของน้ำมันหอมระเหยมามากกว่า 19 ปี จึงมีความตั้งใจพัฒนาความสามารถของนักวิจัยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกนั้นให้ได้ โดยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม โซน D1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ น้ำมันหอมระเหยเป็นสารธรรมชาติที่สามารถสกัดได้จากพืชหลายชนิด ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกวัตถุดิบเพื่อกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่สำคัญในระดับต้นๆของโลก และสามารถผลิตน้ำมันหอมระเหยในระดับอุตสาหกรรมเพื่อส่งจำหน่ายทั่วโลก ทั้งนี้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย เช่น นำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง นำมาใช้บำบัดความเครียดและการนอนหลับ รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล เล่าว่า คุณสมบัติที่น่าทึ่งอย่างหนึ่งของน้ำมันหอมระเหย นอกจากจะให้กลิ่นหอมอ่อนๆแล้ว ไอของน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดยังออกฤทธิ์เป็นสารป้องกันเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและยีสต์ได้ โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคกับมนุษย์ที่มักพบปนเปื้อนในอาหาร ดังนั้นทีมนักวิจัยของห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์จึงทำวิจัยเพื่อคิดค้นสูตรน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ถนอมอาหาร โดยพบว่าน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด เช่น น้ำมันหอมระเหยจากดอกจำปี ตะไคร้ต้น และกานพลู เป็นต้น มีฤทธิ์ต้านทานเชื้อจุลินทรีย์ที่สำคัญในอาหารได้ดีมาก จนนำไปสู่การพัฒนาสูตรน้ำมันหอมระเหยต่างๆในห้องปฏิบัติการฯ เพื่อให้สามารถใช้ถนอมอาหารได้จริงกว่า 20 สูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล มาแทน : ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์ Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร บุญยัง : FESEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เพื่องานวิจัยและงานภาคอุตสาหกรรม

Field Emission Scanning Electron Microscope (FESEM) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่มีสมรรถนะสูง ชนิดฟิลด์อีมิสชัน เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการตรวจวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิว ขนาด รูปร่างของอนุภาค และลักษณะการกระจายของเฟสในโครงสร้างจุลภาค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในงานวิจัย และงานภาคอุตสาหกรรม   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร บุญยัง อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ เล่าว่า FESEM เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงถึง 2,000,000 เท่า ทำให้สามารถศึกษาโครงสร้างขนาดเล็กระดับนาโนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ตัวอย่างทางด้านวัสดุศาสตร์ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วิเคราะห์ธาตุเชิงพลังงาน (Energy Dispersive X-Ray Spectrometer : EDS) ซึ่งช่วยในการศึกษาองค์ประกอบของธาตุทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และการกระจายขององค์ประกอบธาตุ ในวัสดุที่ศึกษาได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วิเคราะห์การเรียงตัวของผลึกโดยใช้สัญญาณจากการเลี้ยวเบนของอิเล็กตรอนกระเจิงกลับ (Electron Backscatter Diffraction : EBSD) เพื่อระบุโครงสร้าง ชนิดของผลึก และทิศทางการเรียงตัวของผลึก   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร เล่าต่อว่า ด้วยกำลังขยายที่สูง และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ครอบคลุมการศึกษาวิจัยในระดับจุลภาค FESEM เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นต่อการศึกษาพัฒนางานวิจัยและภาคอุตสาหกรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร บุญยัง : FESEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เพื่องานวิจัยและงานภาคอุตสาหกรรม Read More »

รองศาสตราจารย์วิทยา อานามนารถ : วิจัยทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาสู่การควบคุมโรคพยาธิปากขอและพยาธิสตรองจิลอยดิส

รองศาสตราจารย์วิทยา อานามนารถ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ ได้วิจัยทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาสู่การควบคุมโรคพยาธิปากขอและพยาธิสตรองจิลอยดิสที่ได้ผลจริง จนได้รับรางวัลด้านสาธารณะ ในฐานะทีมวิจัย ประจำปี 2558 ซึ่งจัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รองศาสตราจารย์วิทยา ได้เล่าให้ฟังถึงความสนใจในการทำวิจัยเกี่ยวกับพยาธิปากขอและพยาธิสตรองจิลอยดิส ในช่วงปี 2553-2555 ว่า ตามธรรมชาติพยาธิปากขอกินเลือดเป็นอาหาร จึงเป็นปัญหาต่อเด็กตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ที่มีพยาธิปากขอ ขณะเดียวกัน เด็กในวัยเรียนอาจมีภาวะโลหิตจาง หากมีพยาธิในระดับปานกลางขึ้นไป ส่งผลต่อการเรียน ทำให้ผลการเรียนไม่ดี ดังนั้น บุคคลสำคัญของโลกจึงให้ความสำคัญและบริจาคเงินช่วยเหลือเพื่อกำจัดโรค ที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกได้จัดโรคพยาธิปากขอเป็นปัญหาสำคัญอันดับ 3 ของโลก ซึ่งมีอัตราการตายปีละ 140,000 คน ในส่วนของพยาธิสตรองจิลอยดิส (พยาธิเส้นด้าย) เป็นพยาธิที่ก่อโรคถึงแก่ชีวิตในผู้ที่อยู่ในภาวะกดภูมิคุ้มกัน และประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดสำคัญโดยพบการติดเชื้อพยาธินี้ ร้อยละ 24 จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ในอดีตประเทศไทยมีความชุกชุมของพยาธิปากขอ ถึงร้อยละ 45 และเมื่อ 22 ปีที่แล้ว รัฐบาลมีนโยบายควบคุมโรคพยาธิปากขอทั่วประเทศ พบว่า ได้ผลดีในทุกภาค โดยความชุกชุมลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2-5 ยกเว้นภาคใต้ยังคงมีความชุกชุมถึงร้อยละ 30 ในทางตรงกันข้ามความชุกชุมของพยาธิสตรองจิลอยดิสในภาคใต้มีต่ำกว่าร้อยละ 10 ในขณะที่ภาคอื่นๆ

รองศาสตราจารย์วิทยา อานามนารถ : วิจัยทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาสู่การควบคุมโรคพยาธิปากขอและพยาธิสตรองจิลอยดิส Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ : รางวัลผลงานวิจัยเด่นด้านนโยบาย เรื่อง “แนวทางการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อย่างยั่งยืน”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ อาจารย์สำนักวิชาการจัดการ และหัวหน้าหน่วยวิจัยการบริโภคและเศรษฐกิจยั่งยืน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับโล่เกียรติยศจาก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี จากผลงานวิจัยเด่นด้านนโยบาย ประจำปี 2558 กับผลงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อมว่า เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ เนื่องจากเป็นพุน้ำร้อนเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเป็นพุน้ำร้อนเค็มที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วนสาเหตุที่มีรสชาติเค็มนั้นเกิดจากการผสมกันของน้ำร้อนและน้ำทะเลในระดับลึกก่อนโพล่พ้นพื้นดิน เกิดเป็นน้ำพุร้อน ซึ่งจัดอยู่ในประเภทน้ำพุร้อนเกลือ (salt spring) ซึ่งมีปริมาณของเกลือผสมอยู่มากกว่า 9 กรัม/ลิตร ความมหัศจรรย์ของบ่อน้ำพุร้อนเค็มนั้นอยู่ที่อุณหภูมิของน้ำในบ่อไม่ร้อนมากจนเกินไป ประมาณ 40-47 องศาเซลเซียส นักท่องเที่ยวรวมทั้งคนในพื้นที่ต่างนิยมที่จะมาแช่น้ำที่นี่ เพราะมีความเชื่อว่าสามารถรักษาโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคปวดเมื่อยตามข้อกระดูก โรคไหลเวียนโลหิต โรคผดผื่นคัน เป็นต้น ทำให้พุน้ำร้อนเค็มคลองท่อม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ใน โครงการวิจัย การประเมินศักยภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยในปี พ.ศ. 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ : รางวัลผลงานวิจัยเด่นด้านนโยบาย เรื่อง “แนวทางการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อย่างยั่งยืน” Read More »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ ศึกษาพยาธิกำเนิดของมาลาเรียขึ้นสมองและภาวะปอดบวมน้ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.พญ.พรรณเพ็ญ วิริยเวชกุล สังกัดภาควิชาพยาธิวิทยาเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาพยาธิกำเนิดของมาลาเรียขึ้นสมองและภาวะปอดบวมน้ำในผู้ป่วยโรคมาลาเรียฟัลซิพารัมชนิดรุนแรง พบว่า พยาธิกำเนิดของมาลาเรียขึ้นสมองเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการทำงานของโปรตีน NF-B p65 โดยเชื้อมาลาเรียซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์ในสมอง ส่วนภาวะปอดบวมน้ำในผู้ป่วยมาลาเรียมีสาเหตุจากการตายของเซลล์ในปอดแบบอะพอพโทซิสผ่านวิถีภายนอก หรือวิถีตัวรับการตาย (extrinsic pathway หรือ death receptor pathway) ซึ่งเกิดจากการจับของลิแกนด์ (death ligands) จากภายนอกเซลล์ เริ่มจากการจับกันของ Fas และ Fas ligand ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ caspase-8 และ caspase-3 และมีผลให้เกิดการตายแบบอะพอพโตซิสของเซลล์และนำไปสู่ภาวะปอดบวมน้ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ เล่าว่า โรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อโปรโตซัว ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวในจีนัส พลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิด ปัจจุปันพบเพียง 5 ชนิดที่ก่อโรคในคน ได้แก่ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ ศึกษาพยาธิกำเนิดของมาลาเรียขึ้นสมองและภาวะปอดบวมน้ำ Read More »

อ.ดร.อุเทน ทับทรวง : การวิจัยและการเรียนการสอนต้องคู่กันและเอื้อประโยชน์ต่อกัน

อาจารย์ ดร.อุเทน ทับทรวง อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เชื่อว่า งานวิจัยมีส่วนสำคัญที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและต้องทำควบคู่กัน เพราะการสอนนักศึกษานอกจากจะสอนโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการหรือตำราแล้ว ยังต้องนำประสบการณ์ที่ได้จากการวิจัยและการทดลองมาสอน เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดและแก้ปัญหาที่เป็นระบบ อาจารย์ ดร.อุเทน เป็นชาวอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ที่วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากจบการศึกษาได้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 อาจารย์ ดร.อุเทน มีความสนใจพัฒนาวัสดุที่มีรูพรุนในระดับนาโนเมตร ซึ่งเป็นวัสดุที่มีพื้นที่ผิวและมีปริมาตรรูพรุนสูง สามารถควบคุมขนาดของรูพรุนได้ น้ำหนักเบา ความหนาแน่นต่ำ ทำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้หลากหลาย อาทิเช่น ตัวรองรับตัวเร่งปฏิกิริยา ขั้วสำหรับเซลล์เชื้อเพลิง/แบตเตอรี่/ตัวเก็บประจุยิ่งยวด ตัวดูดซับสำหรับกระบวนการบำบัดอากาศหรือน้ำเสีย ตัวตรวจวัด(Sensor) เยื่อเลือกผ่านสำหรับการะบวนการแยก ฯลฯ โดยมีแรงจูงใจจากการทำงานวิจัยขณะที่ศึกษาระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับการสังเคราะห์และการพิสูจน์คุณลักษณะของพอลิเบนซอกซาซีน คาร์บอนที่มีรูพรุนในระดับนาโนเมตรจากพอลีเบนซอกซาซีน และซีโอไลท์ที่มีขนาดอนุภาคในระดับนาโนเมตร ทำให้มีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่เป็นชื่อแรก จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง

อ.ดร.อุเทน ทับทรวง : การวิจัยและการเรียนการสอนต้องคู่กันและเอื้อประโยชน์ต่อกัน Read More »

อาจารย์ ดร. เพ็ญโฉม จันทร์หวาน: มุ่งเน้นศึกษาวิจัยร่วมกับบริการวิชาการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อปรสิต

อาจารย์ ดร. เพ็ญโฉม จันทร์หวาน อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านปรสิตวิทยาพื้นฐานและปรสิตวิทยาเชิงโมเลกุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางปรสิตที่ใช้แอนติเจนจำพวกสารสกัดหยาบของปรสิตและการใช้รีคอมบิแนนท์โปรตีนที่ผลิตโดยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม โดยมุ่งเน้นศึกษาวิจัยร่วมกับการบริการวิชาการ อาจารย์ ดร. เพ็ญโฉม จันทร์หวาน เป็นคนอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนบูรณะรำลึก จังหวัดตรัง ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ในปี 2550 ด้วยความคิดและความตั้งใจที่จะทำงานโดยอาศัยการเรียนรู้/ฝึกฝนทักษะจนเกิดความเชี่ยวชาญที่น้อยคนสามารถทำได้ และเป็นงานที่จะทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หลังจากจบการศึกษา อาจารย์ ดร. เพ็ญโฉม จึงตัดสินใจทำงานเป็นนักเทคนิคการแพทย์ในสายงานนักวิทยาศาสตร์ ด้านการเลี้ยงตัวอ่อนสำหรับผู้มีบุตรยากที่โรงพยาบาลเอกชนและคลินิกเอกชนในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและสนุกกับการทำงานเป็นอย่างมาก ในระหว่างที่ได้ทำงานที่ชอบเป็นเวลา 1 ปี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา อานามนารถ อาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการขณะเรียนระดับปริญญาตรี ได้แนะนำทุนการศึกษาโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา หลักสูตรปริญญาเอกในประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยจะต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี และหลังสำเร็จการศึกษาจะต้องมาเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

อาจารย์ ดร. เพ็ญโฉม จันทร์หวาน: มุ่งเน้นศึกษาวิจัยร่วมกับบริการวิชาการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อปรสิต Read More »

ผศ.ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ : จากแนวคิด “ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด”และ “ความใฝ่รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับแนวคิดที่ว่า “ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด” ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต ตราบเท่าที่เราอยากเรียนรู้ และมีแรงบันดาลใจด้านงานวิจัยจาก “ความใฝ่รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้” โดยเปรียบนักวิจัยเสมือนนักสืบ ทำให้เกิดผลงานมากมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ เป็นชาวจังหวัดสตูล จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา” จังหวัดสตูล ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (บัณฑิตรุ่นที่ 6) จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก ด้านพยาธิชีววิทยา จากภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนและคำแนะนำช่วยเหลือจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสีห์ วัฒนวิกย์กิจ คณบดี และอาจารย์วิทยา อานามนารถ สำนักสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ รวมทั้งอาจารย์อีกหลายๆ ท่าน จนทำให้ได้รับการจัดสรรทุนโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา (โทควบเอก) จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จึงเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2555 จากความมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับการสอนและการวิจัยเป็นเวลากว่า 2 ปี ทำให้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

ผศ.ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ : จากแนวคิด “ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด”และ “ความใฝ่รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้” Read More »