ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

ข่าวกิจกรรมวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัย

ข่าวกิจกรรมงานวิจัยและงานวิจัยเผลแพร่ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิจัยและนวัตกรรม

อาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับเกียรติเป็นผู้ประเมินให้กับวารสารโบราณคดี ชั้นนำของโลก

ดร. วัณณสาส์น นุ่นสุข อาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นผู้ประเมินพิจารณาบทความ ให้กับวารสาร Antiquity ซึ่งเป็นวารสารวิชาการชั้นนำทางด้านโบราณคดี ที่จัดพิมพ์โดย Cambridge University Press ต่อเนื่องยาวนานสู่ปีที่ 90 และมีค่า journal impact factor ล่าสุด 1.717 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนับสนุนการวิจัยด้านโบราณคดี ให้เชื่อมโยงกับการเรียนการสอน โดยได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้ง ทุนการศึกษาวิจัยโบราณคดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม ลิ่มวงศ์ ที่นายแพทย์ชนินท์ ลิ่มวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล มอบให้แก่หน่วยวิจัยโบราณคดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อจัดสรรให้นักศึกษาได้ศึกษาวิจัยทางด้านโบราณคดี ปีละ 450,000 บาท โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ผู้สนใจสามารถติดต่อ สอบถาม และปรึกษาหัวข้อวิจัย ได้จาก ดร. วัณณสาส์น นุ่นสุข (wn35@cornell.edu)

อาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับเกียรติเป็นผู้ประเมินให้กับวารสารโบราณคดี ชั้นนำของโลก Read More »

ม. วลัยลักษณ์ สนับสนุนงบประมาณให้กับ 26 ศูนย์-หน่วย-กลุ่มวิจัยในปี2559

จากการประชุม คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรทุนอุดหนุนและติดตามประเมินผลการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่1/2559 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ได้พิจารณางบประมาณสนับสนุน กลุ่มวิจัย-หน่วยวิจัย-ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศ จากผลดำเนินงานในปีที่ผ่านมาของศูนย์วิจัยความเป็นเลิศ-หน่วยวิจัย-กลุ่มวิจัย เดิมรวม 25 หน่วย และ ผลประเมินข้อเสนอโครงการจัดตั้ง หน่วยวิจัย-กลุ่มวิจัย ใหม่รวม 7 หน่วย ผลสืบเนื่องจากการประชุมทำให้ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศ-หน่วยวิจัย-กลุ่มวิจัย ของมหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนพร้อมกัน 26 ทุน ในปี2559 ได้แก่ ทุนกลุ่มวิจัย 1. กลุ่มวิจัยนวัตกรรมด้านการจัดการและพันธกิจเพื่อสังคม (กลุ่มวิจัยใหม่) สำนักวิชาการจัดการ 2. กลุ่มวิจัยอิสลามศึกษาและการพัฒนาชุมชนมุสลิมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (กลุ่มวิจัยใหม่) สำนักวิชาศิลปศาสตร์ 3. กลุ่มวิจัยการเคลื่อนย้ายของผู้คนในยุคโลกไร้พรมแดน (กลุ่มวิจัยใหม่) สำนักวิชาศิลปศาสตร์ 4. กลุ่มวิจัยการดูแลสุขภาวะชุมชน (กลุ่มวิจัยใหม่) สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ 5. กลุ่มวิจัยโรคเขตร้อนและโรคติดเชื้อปรสิต (กลุ่มวิจัยใหม่) สำนักวิชาแพทยศาสตร์ 6. กลุ่มวิจัยเพื่อพยากรณ์ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคในชุมชนและผลกระทบต่อสุขภาพ (ก่อตั้งปี 2558) สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ 7. กลุ่มวิจัยพยาธิชีววิทยาของเซลล์และเนื้อเยื่อ

ม. วลัยลักษณ์ สนับสนุนงบประมาณให้กับ 26 ศูนย์-หน่วย-กลุ่มวิจัยในปี2559 Read More »

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเทคนิคการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยซีทในหลอดทดลองเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ

เทคนิคการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยซีทในหลอดทดลองเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเทคนิคการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยซีทในหลอดทดลองเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ คำขอเลขที่ 1503002065 ยื่นคำขอเมื่อ 30 พ.ย.58 ประดิษฐ์โดย: รศ.ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุล และ นายกิจติศักดิ์ ชววิสิฐ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ถือสิทธิ: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ข้อมูลผลงาน: สืบเนื่องจากสเตรปโตมัยซีทเป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปท่อนที่มีลักษณะการเจริญเติบโตคล้ายเชื้อรากล่าวคือมีการเจริญเติบโตช้าและต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตสูง (obligate aerobic bacteria) ซึ่งทำให้การกระตุ้นให้เชื้อผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิในหลอดทดลองเป็นไปได้ช้าต้องใช้เวลายาวนานถึง 30 วันหรือมากกว่านั้นหากบ่มเลี้ยงเชื้อแบบไม่ได้เขย่าโดยการเลี้ยงเชื้อไว้เป็นระยะเวลายาวนานอาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นในสิ่งแวดล้อม โดยที่เชื้อสเตรปโตมัยซีทในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ (secondary metabolites) ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารปฏิชีวนะออกฤทธิ์ต้านสแตฟฟิลโลคอคคัสออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน (methicillin resistant Staphylococcus aureus: MRSA) เป็นต้น การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับเทคนิคการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยซีท (Streptomyces spp.) ในหลอดทดลองเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ ด้วยการเลี้ยงเชื้อในขวดที่ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มปริมาตรการเลี้ยงเชื้อ ซึ่งทำให้สามารถลดระยะเวลาของการบ่มเลี้ยงเชื้อลงได้จาก 12 วัน เหลือเพียง 3-4 วัน ในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ และสามารถเพิ่มปริมาตรของอาหารเลี้ยงเชื้อได้มากกว่าเกณฑ์ปกติ สำหรับการเลี้ยงเชื้อในแต่ละครั้ง สนใจสอบถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยีติดต่อได้ที่ คุณพรรษกร ฉันทวีโรจน์ โทร.

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเทคนิคการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยซีทในหลอดทดลองเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ Read More »

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Journal of Learning Innovations Walailak University) ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558) ออกเผยแพร่ออนไลน์แล้ว

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวารสารวิชาการ ราย 6 เดือน มีกำหนดออก 2 ครั้งต่อปี คือฉบับเดือนมกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม จัดพิมพ์เผยแพร่โดย ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการสู่สังคม และเป็นแหล่งกลางในการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลและเป็นแหล่งวิทยาการความรู้ต่างๆ อันเป็นการเปิดโลกกว้างทางการเรียนรู้ ให้แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้รับทราบ ผลงานวิชาการที่รับพิมพ์ ได้แก่ บทความวิชาการ บทความวิจัยบทความ ปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ ต้นฉบับที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ใน วารสารอื่น เรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิใน สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องแบบปิดลับชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและผู้เขียนและได้รับ ความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ จึงขอเชิญชวนอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ บทความที่จะได้รับการเผยแพร่จะต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนส่งเสริมวิชาการ โทร. 07-567-3770, 3770 ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดบทความวิชาการและบทความวิจัย ทั้ง 6 เรื่อง ได้ทางเว็บไซต์ http://jli.wu.ac.th

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Journal of Learning Innovations Walailak University) ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558) ออกเผยแพร่ออนไลน์แล้ว Read More »

WMS Journal of Management ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2559) ออกเผยแพร่ออนไลน์แล้ว

WMS Journal of Management มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการจัดการ บริหารธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยรับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และมีคุณค่าทางวิชาการ สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฏีและเชิงปฏิบัติได้อย่างกว้างขวาง มีกำหนดเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอีเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับเดือนกันยายน – ธันวาคม โดยผลงานแต่ละเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ (Peer Review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นๆ ดำเนินโครงการติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 4 ปี เผยแพร่วารสารแล้ว จำนวน 12 ฉบับ ได้ผ่านการรับรองเข้าสู่ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 (Thai-Journal Impact Factors = 0.088) จึงขอเชิญชวนอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

WMS Journal of Management ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2559) ออกเผยแพร่ออนไลน์แล้ว Read More »

เครือข่ายวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ สกอ. ภาคใต้ตอนบน ม.วลัยลักษณ์ ร่วมพิจารณากลั่นกรองโครงการวิจัย

   เครือข่ายวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ สกอ. ภาคใต้ตอนบน นำโดย อาจารย์ ดร.เลิศชาย ศิริชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสังคม ในฐานะประธานกรรมการบริหารเครือข่ายฯ ประชุมหารือการบริหารงานเครือข่ายร่วมกับสมาชิกเครือข่าย และผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 ณ ห้องประชุม 2 อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ประชุมได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของเครือข่าย พร้อมทั้งได้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยมีโครงการที่ส่งข้อเสนอโครงการจำนวนทั้งสิ้น 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการ “การเปลี่ยนหญ้าเนเปียร์เป็นมีเทนโดยใช้เอนไซม์จากวัสดุเศษเหลือการเพาะเห็ดและน้ำทิ้งจากการผลิตมีเทนเป็นกล้าเชื้อ” โดย รศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์และคณะ โครงการ”การหารูปแบบดีเอ็นเอของพ่อ-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์หนองเป็ด เพื่อการคัดเลือกคู่ผสม ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดและการยืนยันลูกผสมในเชิงการค้าโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล” โดย ผศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์และคณะ โครงการ “การพัฒนาเครื่องอบแห้งสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุที่ความดันต่ำ” โดย ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ และคณะ           เครือข่ายวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ สกอ.ภาคใต้ตอนบน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำหน้าที่ในการบริหาร ติดตาม ประเมินผลโครงการวิจัยและมีภารกิจสร้างความร่วมมือกับนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ ดำเนินโครงการวิจัยตาม Strategy & Theme

เครือข่ายวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ สกอ. ภาคใต้ตอนบน ม.วลัยลักษณ์ ร่วมพิจารณากลั่นกรองโครงการวิจัย Read More »

Walailak J Sci & Tech: Food Technology ออกเผยแพร่ออนไลน์แล้ว

วารสาร Walailak Journal of Science and Technology ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (Vol. 13 No. 3 March 2016) ออกเผยแพร่ออนไลน์แล้ว ประกอบด้วยบทความด้านเทคโนโลยีอาหาร จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2 เรื่อง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2 เรื่อง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 เรื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 1 เรื่อง และจากประเทศอินเดีย 1 เรื่อง โดยบทความ Research on Using Natural Coating Materials on the Storage Life of Mango Fruit cv. Nam Dok Mai and Technology Dissemination

Walailak J Sci & Tech: Food Technology ออกเผยแพร่ออนไลน์แล้ว Read More »