ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

งานวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศ/สถานวิจัย

Foldable walking aid

Research name: Foldable walking aid ชื่องานวิจัย: เครื่องช่วยพยุงเดินแบบพับเก็บได้ Background and importance : The situation and trends of the aging society in Thailand is increasing. Increased age affects the risk of falling. The risk factors of falls include risk factors within the body which are changes in eye vision such as farsightedness and blurred vision, changes in […]

Foldable walking aid Read More »

ม.วลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยในโครงการ “IP Audit”

ม.วลัยลักษณ์ โดย อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยในโครงการ “IP Audit” เป็นเงิน 50,000 บาทต่อทุน  จำนวน 7 ทุน  เพื่อเป็นการยกระดับและต่อยอดงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้           ทุนสนับสนุนงานวิจัยในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ทุนต่อยอดเทคโนโลยี มีนักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 3 ทุน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลัคนา พิมพ์จันทร์ สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป งานวิจัย “เครื่องยิงเทนนิส”  รองศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ งานวิจัย “การสกัดเคอร์คูมินอยด์ปริมาณสูงจากเหง้าของขมิ้นชันด้วยคลื่นไมโครเวฟ”   และศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม งานวิจัย “กัมมี่เยลลี่ฝรั่งเสริมวิตามินบี 12 จากการหมักด้วย Lactobacillus plantarum WU-P19” 2) ทุนจัดทำต้นแบบผลงานวิจัย มีนักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 4 ทุน ได้แก่ อาจารย์ วาลุกา

ม.วลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยในโครงการ “IP Audit” Read More »

Integrated pest management for crop production: The Prototype Community

โครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี นำโดย รศ.ดร.วาริน อินทนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หัวหน้าโครงการ เป็นเทคโนโลยีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ NST-009 ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคพืชต่างๆทั้งยังนำเชื้อราบิวเวอร์เรียและเชื้อราเมธาไรเซียมมาควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการขยายเชื้อราแต่ละชนิด การนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืชให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งหาแนวทางการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าผลผลิตพืช สำหรับเกษตรกรจำนวน 120 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกทุเรียน ต.ตลิ่งชัน อ.ท่าศาลา กลุ่มผู้ปลูกส้มโอ “ทับทิมสยาม” ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง และกลุ่มผู้ปลูกมังคุด ต.บ้านเกาะ อ.พรหมคีรี และต.ลานสกา อ.ลานสกา Bio-agriculture Safe Project leads by Assoc. Prof. Dr. Warin Intana, Walailak University is a technology to apply a highly efficient Trichoderma NST-009 in controlling

Integrated pest management for crop production: The Prototype Community Read More »

ม.วลัยลักษณ์ลงนามถ่ายทอดเทคโนโลยีมังคุดคัดให้แก่บริษัทมังกัสโต้

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนายอัครเนตร มีชนะ กรรมการผู้จัดการบริษัท มังกัสโต้ จำกัด ลงนามในสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับ บริษัท มังกัสโต้ จำกัด “ เรื่องกระบวนการผลิตและการเก็บรักษามังคุดคัดในภาชนะบรรจุปิดสนิท” โดยมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัย คณาจารย์จากสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร บุคลากร อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโมคลาน อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  การลงนามในครั้งนี้เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการมีความสนใจที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์มังคุด เนื่องจากมังคุดเป็นผลไม้ท้องถิ่นและผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงประสานงานกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะนำเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยกระบวนการผลิตและการเก็บรักษามังคุดคัดในภาชนะปิดสนิท ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุปราณี มนูรักษ์ชินากร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และคณะ มาพัฒนามังคุดคัดในบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่เก็บความสด มีรสชาติอร่อยทุกครั้งที่รับประทาน และมีความสะดวก ปลอดภัยต่อผู้บริโภคซึ่งต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทชื่อ บริษัท มังกัสโต้ จำกัด  และเนื่องจาก บริษัท มังกัสโต้ จำกัด เป็นนักธุรกิจใหม่ ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน จึงได้เข้าบ่มเพาะธุรกิจกับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่วันที่ 21

ม.วลัยลักษณ์ลงนามถ่ายทอดเทคโนโลยีมังคุดคัดให้แก่บริษัทมังกัสโต้ Read More »

คิดให้รอบคอบ มองให้รอบด้าน การดื่มกับภาวะสมองเสื่อม

คิดให้รอบคอบ มองให้รอบด้าน การดื่มกับภาวะสมองเสื่อม รายละเอียดเนื้อหาข่าว    

คิดให้รอบคอบ มองให้รอบด้าน การดื่มกับภาวะสมองเสื่อม Read More »

ศูนย์ความเป็นเลิศและสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัสดุเชิงฟังก์ชันและนาโนเทคโนโลยี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาการพลาสมาและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ นักศึกษาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ความรู้จากงานวิจัย 3 เรื่อง คือ เทคโนโลยีอบแห้ง สปินครอสโอเวอร์ และ วิทยาศาสตร์โบราณคดี ในมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคม 2561  งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศ โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรม จากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำสมัย สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย โดยเป็นโอกาสที่ประชาชนและเยาวชนทั่วไปจะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้รับประสบการณ์ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่สนุกสนาน โดยมีผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประมาณปีละ 1 ล้านคน  รายละเอียดเพิ่มเติม – http://drive.google.com/drive/folders/1mmqHc98xzdunX5xX_7Qon9Dr4Rj20W-v หน่วยงานผู้ส่งข่าว – สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

ศูนย์ความเป็นเลิศและสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ Read More »

เสริมพลังวิชาการช่วยการพัฒนา โครงการบริการวิชาการ “กาญจนดิษฐ์โมเดล : โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน กรณีอำเภอขนาดใหญ่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี”

ตามที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบำรุง ได้รับทุนสนับสนุนทุนจากกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย “การจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม” ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2560 จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และการสนับสนุนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ดำเนินการถ่ายทอดฯ แก่แกนนำสุขภาพของ 19 อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้องค์ความรู้ ไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ไข้เลือดออก ประกอบด้วย 7 กิจกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ 1) การประเมินหมู่บ้านพื้นที่เสี่ยงเพื่อทำนายการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของพื้นที่ 2) ติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายจากการดำเนินการของครัวเรือนที่ อสม. รับผิดชอบผ่านการดำเนินการของแต่ละ รพ.สต.  3) โปรแกรมดัชนีลูกน้ำยุงลาย http://lim.wu.ac.th โดยเตรียมความพร้อมของศูนย์เฝ้าระวังระดับโดยเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของ รพ.สต. รพช. และเทศบาล  4) ประเมินและพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้และความเข้าใจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ของ อสม. 5) การประเมินและกระตุ้นการสร้างสมรรถนะชุมชนของหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงสูงหรือการดำเนินการในระดับตำบล 6) การพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ ด้วยทีมแกนนำของอำเภอ รพ.สต. ตำบล และหมู่บ้าน  7) การทำงานเชิงเครือข่ายในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ของคน 4

เสริมพลังวิชาการช่วยการพัฒนา โครงการบริการวิชาการ “กาญจนดิษฐ์โมเดล : โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน กรณีอำเภอขนาดใหญ่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี” Read More »

สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าเยี่ยมชมติดตามและประเมินผลการทำงานของห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าเยี่ยมชมติดตามและประเมินผลการทำงานของห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  “ห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้” เป็นโครงการภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ และโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 รวมถึงหารือแนวทางสนับสนุนงบประมาณด้านเครื่องมือในปีงบประมาณ 2561 เพื่อให้ห้องปฏิบัติการ ฯ ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็น “ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” และได้รับการรับรองในระดับสากลต่อไป เมื่อวันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2561       ข่าวโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าเยี่ยมชมติดตามและประเมินผลการทำงานของห้องปฏิบัติการทดสอบไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ Read More »

ม.วลัยลักษณ์จับมือเบโด้ศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทะเลสาบสงขลาตอนบน มุ่งสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (เบโด้) จัดทำโครงการศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนบน มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 (รายละเอียดเนื้อหาข่าวกรุณาคลิ๊ก) ข่าวโดย : https://mgronline.com/south/detail/9610000081600

ม.วลัยลักษณ์จับมือเบโด้ศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทะเลสาบสงขลาตอนบน มุ่งสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น Read More »