ตราสัญลักษณ์ สวนล. ภาษาไทย

ข่าวเด่น

“โครงการพัฒนาระบบนวัตกรรมเชื่อมโยงสู่การทำแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ (นำร่อง 6 จังหวัด)”

สรุปประเด็นเข้าร่วมรับฟัง เสวนาออนไลน์ “โครงการพัฒนาระบบนวัตกรรมเชื่อมโยงสู่การทำแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ (นำร่อง 6 จังหวัด)” วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 10.00 – 12.00 น. ประสบการณ์ครั้งแรกของการรับฟัง เสวนาออนไลน์ ประเด็นข้อค้นพบจากโครงการพัฒนาระบบนวัตกรรมเชื่อมโยงสู่การทำแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ ใน 6 จังหวัดนำร่อง สรุปใจความสั้นๆ ได้ว่าการจะผลักดันนวัตกรรมเพื่อขยายผลในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ ได้ปัจจุบันแต่ละจังหวัดจะมีคณะทำงานด้านนวัตกรรมของจังหวัด สิ่งสำคัญคือแต่ละจังหวัดจะต้องมีบัญชีนวัตกรรมที่ทุกภาคส่วนในจังหวัดต้องระดมกันเก็บข้อมูลและรวบรวมเป็นข้อมูลพร้อมใช้ไว้ที่จังหวัด ซึ่งเมื่อมีบัญชีนวัตกรรมแล้วจะทำให้การวิเคราะห์สังเคราะห์ศักยภาพของนวัตกรรมสามารถทำได้สะดวกขึ้น สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดในการผลักดันการนำนวัตกรรมไปใช้คือจะต้องมีการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่/ประชาสังคม/ประชาชนในกลุ่มเป้าหมาย เพราะการนำนวัตกรรมไปใช้ได้สำเร็จนั้น “คน” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ท่านใดสนใจ Version 5 หน้า คลิกได้ที่ลิงค์นี้ค่ะ https://1th.me/DuFBC เครดิต: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10213170706660738&set=a.1073749622445&type=3&theater

“โครงการพัฒนาระบบนวัตกรรมเชื่อมโยงสู่การทำแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ (นำร่อง 6 จังหวัด)” Read More »

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอในกิจกรรม Thailand Research Expo : Symposium 2020

ด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กำหนดจัดกิจกรรม Thailand Research Expo: Symposium 2020 ขึ้น ระหว่างงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๓ (Thailand Research Expo 2020)” เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ และบัณฑิตศึกษา ได้นำเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการระดับประเทศ อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการวิจัย การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ และยกระดับผลงานวิจัยให้ได้มาตรฐาน ในการนี้ วช. ขอเชิญชวนนักวิจัย นักวิชาการและบัณฑิตศึกษาในหน่วยงานของท่านได้รับทราบกิจกรรมและส่งผลงาน  เข้าร่วมนำเสนอในกิจกรรม Thailand Research Expo : Symposium 2020 ทั้งในภาคการบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) ใน ๖ กลุ่มเรื่อง ดังนี้ ๑. การวิจัยด้านการแพทย์ และสาธารณสุข       ๒. การวิจัยด้านสังคม ความมั่นคง พลังงานและสิ่งแวดล้อม ๓. การวิจัยด้านการศึกษา ๔. การวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ๕. การวิจัยด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ๖. การวิจัยด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอในกิจกรรม Thailand Research Expo : Symposium 2020 Read More »

ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ด้วย “ฟ้าทะลายโจร” กับ สวก.

เชิญชมการเสวนาเรื่อง “สมุนไพรตัวเอกแห่งยุคCOVID-19 ฟ้าทะลายโจร” เพื่อการวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสมุนไพรในการรักษาโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคจากไวรัส COVID-19 . ผู้ร่วมเสวนา – ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร . – รศ.ดร. สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ จาก วิทยาลัยการแพทย์ แผนตะวันออก มหาสิทยาลัยรังสิต . – ผศ.ดร.ณัฐวัฒน์ ณัฐพูลวัฒน์ จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร . ชมสดพร้อมกันผ่าน Facebook Live วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563 เวลา 14.00 น. รับชมได้ที่: https://www.facebook.com/ardathai .……………………………………………………………… ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวเรื่องงานวิจัยด้านการเกษตร เว็บไซต์: http://www.arda.or.th/ . ยูทูป: https://www.youtube.com/channel/UCKcbBD3PLo-83Nl-kM4NmHw . แฟนเพจเกษตรก้าวไกล กับ สวก.: https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017 . #ฟ้าทะลายโจร #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA

ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ด้วย “ฟ้าทะลายโจร” กับ สวก. Read More »

สุดยอด! ทีมนักวิจัย มวล., มข., จฬ. ใช้ “ทฤษฎีฟิสิกส์” คาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19)

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยจาก 3 มหาวิทยาลัย รวมตัวทำงานวิจัยคาดการณ์แนวโน้มการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนสถานะสสารในระดับควอนตัม จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่หลายประเทศเริ่มควบคุมไม่ได้ รศ.ดร.พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย นักวิจัยกลุ่มวิจัยทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เชิงคำนวณและทฤษฎี พร้อมด้วย ผศ.ดร.อภิรักษ์ พยัคฆา ดร.พรรณศิริ ดำโอ ดร.พิมพ์ชนก พิมพ์ทนต์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร.ผานิตย์ คุ้มฮิ้น สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สืบค้นข้อมูลในการคาดการจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม พบว่า โมเดลโลจิสติก (logistic model) ถูกนำมาใช้ในการคาดการณ์ดังกล่าว “เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงตัวเลขหนึ่ง ในที่นี้อยู่ที่ราวๆ 100 คน จำนวนการติดเชื้อสะสมจะเพิ่มขึ้นแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (exponential) หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น มีการใช้โมเดลโลจิสติกอย่างกว้างขวาง โดยลักษณะการเพิ่มจำนวนของโมเดลนี้จะคล้ายรูปตัว S แต่บทความวิชาการบางส่วนระบุว่า การคาดการณ์ด้วยโลจิตฟังก์ชันอาจจะน้อยกว่าความเป็นจริง” ทีมนักวิจัยที่ ม.วลัยลักษณ์ ช่วยกันดึงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระหว่างวันที่ 21 ม.ค.-21มี.ค.63 เพื่อนำมาวิเคราะห์ ซึ่งต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะหากล่าช้าข้อมูลก็จะไม่ทันต่อเหตุการณ์ โดยได้รับความร่วมมือจาก ถกล ตั้งผาติ นักศึกษาปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์

สุดยอด! ทีมนักวิจัย มวล., มข., จฬ. ใช้ “ทฤษฎีฟิสิกส์” คาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) Read More »

สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำทีมนักวิจัยจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่พัฒนาวิธีการทำเจลล้างมือ

25 มี.ค.63 สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำทีมนักวิจัยจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ คุณเศวตฉัตร บุญมิ่ง สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) เพื่อหารือกับผู้ประกอบการสุราชุมชน ในการผลิตแอลกอฮอล์ สำหรับทำเจลล้างมือ เพื่อป้องกันโควิด 19   ที่มา: facebook งานวิจัยเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://www.facebook.com/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-420239394980824/

สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำทีมนักวิจัยจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่พัฒนาวิธีการทำเจลล้างมือ Read More »

Integrated pest management for crop production: The Prototype Community

โครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี นำโดย รศ.ดร.วาริน อินทนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หัวหน้าโครงการ เป็นเทคโนโลยีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ NST-009 ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคพืชต่างๆทั้งยังนำเชื้อราบิวเวอร์เรียและเชื้อราเมธาไรเซียมมาควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการขยายเชื้อราแต่ละชนิด การนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืชให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งหาแนวทางการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าผลผลิตพืช สำหรับเกษตรกรจำนวน 120 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกทุเรียน ต.ตลิ่งชัน อ.ท่าศาลา กลุ่มผู้ปลูกส้มโอ “ทับทิมสยาม” ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง และกลุ่มผู้ปลูกมังคุด ต.บ้านเกาะ อ.พรหมคีรี และต.ลานสกา อ.ลานสกา Bio-agriculture Safe Project leads by Assoc. Prof. Dr. Warin Intana, Walailak University is a technology to apply a highly efficient Trichoderma NST-009 in controlling

Integrated pest management for crop production: The Prototype Community Read More »

ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง มาตรการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

เนื่องด้วยปรากฏสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ประเทศไทยได้ประกาศ   ให้เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง ตลอดจนเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแถลงว่าพบผู้ติดโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศอิหร่านและที่เดินทางกลับจากประเทศอิหร่านมายังจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอประกาศให้ทราบว่านักศึกษาคนดังกล่าวไม่ได้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และไม่ได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่มหาวิทยาลัยแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยยกระดับการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยมีมาตรการดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ และกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อประเมินสถานการณ์ รับแจ้งข้อมูล ติดตามและแก้ไขปัญหาและป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 2. ให้ทุกหน่วยงานงดหรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่เป็นการรวมตัวของคนหมู่มากออกไปจนกว่าสถานการณ์ของโรคจะคลี่คลาย รวมทั้งขอความร่วมมืองดการเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานภายนอกจัดขึ้น 3. มาตราการในการดูแลนักศึกษา ในบริเวณมหาวิทยาลัย 3.1 เพิ่มการประชาสัมพันธ์ มีป้ายเตือนให้นักศึกษา บุคลากร ปฏิบัติตามแนวทาง/มาตรการป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด  ในกรณีที่มีอาการผิดปกติหรือประเมินตัวเองว่ามีความเสี่ยง ให้ไปเข้ารับ การคัดกรองเบื้องต้นที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3.2 มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลล้างมือ และสบู่เหลวสำหรับการล้างมือในทุกสถานที่ครอบคลุมทุกอาคาร ได้แก่ หอพักนักศึกษา อาคารเรียนรวม อาคารห้องปฏิบัติการ และห้องสมุดเป็นต้น และ ให้นักศึกษา บุคลากร ล้างมือทุกครั้งก่อนเข้าอาคาร 3.3

ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง มาตรการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 Read More »

บุคลากรสถาบันวิจัยและนวัตกรรม ได้รับเชิญบรรยาย สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

นายโกสินธุ์ ศิริรักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สถาบันวิจัยและนวัตกรรม และบรรณาธิการจัดการ Walailak Journal of Science and Technology ได้รับเชิญบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “Journey of Walailak Journal of Science and Technology form Local Journal to Scopus database” ในการประชุมเชิงปฏิบัตการ “การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายกองบรรณาธิการวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข” ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2563 ณ กรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข มีบรรณาธิการและกองบรรณณาธิการวารสารเข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน

บุคลากรสถาบันวิจัยและนวัตกรรม ได้รับเชิญบรรยาย สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข Read More »

ผลงานวิจัยของคณาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ฯ ได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นปกวารสาร Journal of Colloid and Interface Science

ผลงานวิจัยเรื่อง “Oxidative Upgrade of Furfural to Succinic Acid Using SO3H-Carbocatalysts with Nitrogen Functionalities Based on Polybenzoxazine” โดย ผศ.ดร.อุเทน ทับทรวง (อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และ Review Editor in Applied Sciences, Walailak Journal of Science and Technology) รศ.ดร.กำชัย นุ้ยธิติกุล (อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี) และ ผศ.ดร.อภิรักษ์ พยัคฆา (อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย) ได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นปกวารสาร Journal of Colloid and Interface Science volume 566 (ISI Q1/Scopus Q1, Journal Impact Factor

ผลงานวิจัยของคณาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ฯ ได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นปกวารสาร Journal of Colloid and Interface Science Read More »